svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ศบค. เผยยอดผู้ป่วยโควิดยังพุ่ง 1,763 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลกว่า 3 หมื่นราย

04 พฤษภาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศบค. เผยยอดผู้ป่วยโควิดยังพุ่ง 1,763 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลกว่า 3 หมื่นราย อาการหนัก 1,009 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 311 ราย ดับยังสูง 27 คน ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสม 72,788 ราย เร่งเจาะตรวจเชิงรุกชุมชนแออัด ตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ โควิด -19 กรุงเทพและปริมณฑล หลังผู้ติดเชื้อรวมกันสูงกว่า 73 จังหวัด พร้อมเดินหน้าสั่งฟาวิพิราเวียร์ จากญี่ปุ่น 2 ล้านเม็ด 12 พ.ค.นี้

วันนี้ (4 พ.ค.) นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด -19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ประจำวันอังคารที่ 4 พฤษภาคม 2564 อยู่ในลำดับที่ 99 ของโลก พบผู้ติดเชื้อยืนยันรายใหม่ 1,763 ราย แบ่งไปติดเชื้อภายในประเทศ 1,750 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 13 ราย รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 21,453 รายและรักษาในโรงพยาบาลสนาม 8,558 ราย อาการหนัก 1,009 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 311 ราย รวมยอดสะสมทั้งหมด 72,788 ราย เสียวิต 27 คน รวมยอดสะสม 303 คน

ศบค. เผยยอดผู้ป่วยโควิดยังพุ่ง  1,763 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลกว่า 3 หมื่นราย


โดยผู้เสียชีวิต 27 คน แบ่ง เป็นกรุงเทพฯ 8 คนนนทบุรี 5 คน ลำพูน สมุทรปราการ จังหวัดละ 2 คน ชลบุรี อุบลราชธานี ปทุมธานี นครปฐม บุรีรัมย์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชกำแพงเพชร ชัยนาท และน่าน จังหวัดละ 1 คน ซึ่งผู้เสียชีวิต 21 คนแบ่งเป็นชาย 21 คน หญิง 6 คน ค่ามัธยฐานของอายุ 66 ปี ส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขมันหลอดเลือดสูง ไทรอยด์ ติดเตียง อ้วนมะเร็ง ปอดเรื้อรัง ไตเรื้อรัง โดยส่วนใหญ่มีประวัติใกล้ชิดสมาชิกในครอบครัวที่ติดเชื้อสัมผัสใกล้ชิดเพื่อนร่วมงาน สัมผัสผู้ติดเชื้อยืนยัน พนักงานสถานบันเทิง ไปยังสถานที่เสี่ยงและตลาด
โดย 10 ลำดับจังหวัดที่ติดเชื้อสูงสุด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ 562 ราย สมุทรปราการ 201 ราย นนทบุรี 168 ราย ชลบุรี 91 รายสมุทรสาคร 55 ราย นครปฐม 50 ราย เชียงใหม่ 41 ราย กระบี่ 38 ราย ระนอง 37 รายสุราษฎร์ธานี 35 ราย

ศบค. เผยยอดผู้ป่วยโควิดยังพุ่ง  1,763 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลกว่า 3 หมื่นราย


นอกจากนี้ที่ประชุม eoc และศบค. มีการหารือถึงข้อมูลการติดเชื้อล่าสุดวันที่ 4 พฤษภาคม 2564 กรุงเทพฯ - ปริมณฑลมีผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 956 ราย และจังหวัดอื่นๆ 794 ราย ซึ่งหากย้อนดูข้อมูลตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา กรุงเทพและปริมณฑลรวมกันมากกว่า 73 จังหวัด ยกเว้นวันที่ 30 เมษายนและปริมณฑลมีปริมาณน้อยกว่า 73 จังหวัดรวมกัน
ซึ่งขณะนี้พบว่า แขวงลุมพินี แขวงปทุมวัน เขตปทุมวันมีการติดเชื้อทั้งสิ้น 162 ราย เป็นการติดเชื้อใน 6 พื้นที่ชุมชน ได้แก่ ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ 61 ราย ชุมชนเคหะบ่อนไก่ 14 ราย ชุมชนโปโล 10 ราย ชุมชนพระเจน 8 ราย ชุมชนร่วมฤดี 2 ราย และชุมชนกุหลาบแดง 1 ราย ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการรายงานการติดเชื้อตั้งแต่ช่วงวันที่ 7 เมษายน 2564 และเมื่อเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ก็มีผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นมา ซึ่งสามารถค้นพบการติดเชื้อทั้งสิ้น 162 รายแบ่งเป็นอาศัยในชุมชน 96 รายและอาศัยในแหล่งอื่นๆเช่นคอนโดหอพักจำนวน 66 รายจึงต้องทำการเร่งหาผู้ติดเชื้อและแยกออกจากชุมชนออกมา
นอกจากนี้ยังพบพื้นที่แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต พบผู้ติดเชื้อถึง 80 รายกระจายตัวอยู่หลายพื้นที่ อย่างชุมชนวัดญวนคลองลำปัก ชุมชนหลังบ้านมนังคศิลา ชุมชนริมทางรถไฟสายแปดริ้ว ซึ่ง 3 จุดเป็นชุมชนแออัดทั้ง 3 ที่ จึงมีการเสนอ และรายงานขึ้นมาตั้งแต่ 9 เมษายน พบกันทุกตัวของกลุ่มผู้ติดเชื้อตั้งแต่ช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นต้นมา โดยมีการเข้าไปตรวจเชิงรุกและพบผู้ติดเชื้อ 22 ราย โดยหลังจากนั้นก็ยังคงพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง
ส่วนคลัสเตอร์สมุทรปราการที่ได้รับรายงานคือมีการติดเชื้ออยู่ในโรงงานแห่งหนึ่งในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จำนวนทั้งสิ้น 160 ราย ซึ่งเป็นรายงานสะสมเมื่อวานและวันนี้ จุดเริ่มต้นเกิดจากพนักงานคนหนึ่งเป็นชาวเมียนมา มีอาการป่วยตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน และทำให้เกิดการติดของคนในโรงงาน ดำเนินการตรวจเชิงรุกขยายวง โดยขณะนี้นายแพทย์สสจจังหวัดสมุทรปราการได้เข้าไปควบคุมปิดโรงงานนี้ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมาและขณะนี้ยังคงต้องดำเนินการต่อเนื่อง และดำเนินการปิดโรงงานอีกรอบวันที่ 27 เมษายนถึง 3 พฤษภาคม เพื่อดำเนินการค้นหาเชิงรุกต่อไป
ส่วนยาฟาวิพิราเวียร์ วันที่ 3 พฤษภาคมมีปริมาณยาคงเหลือ เวลา 12.00 น ยังเหลือประมาณ 1. 6 ล้านเม็ด และจะสั่งมาอีกจากประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 12 พฤษภาคม อีก 2 ล้านเม็ด
ส่วนการประชุมนัดพิเศษเมื่อวานนี้ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆเชื่อมโยงสถานการณ์ในกรุงเทพฯและปริมณฑลเข้ามาประชุมอย่างเร่งด่วนโดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในฐานะผอ. ศูนย์ศบค. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุชาติ ชมกลิ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีการประชุมในประเด็นการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งเพื่อบูรณาการ โควิด -19 ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งถือเป็นงานใหญ่ เนื่องจากติดเชื้อเกินกว่าครึ่งของการติดเชื้อทั้งประเทศ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ โควิด - 19 กรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้อำนวยการศูนย์เอง โดยในวันนี้พลเอกณัฐพลนาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือสมช. ในฐานะผอ.ศปก.ศบค.เป็นผู้ยกร่างรายละเอียด
นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงโครงสร้างของศูนย์ ที่อยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งมี 50 เขต ซึ่งมีศูนย์ควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ระดับเขต โดยจะมีผอ. เขตเป็นผู้อำนวยการศูนย์รับถ่ายทอดนโยบาย เช่นเดียวกับในพื้นที่ต่างจังหวัด ที่จะมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันเป็นระดับเขต โดยอาจมีการแบ่งปฏิบัติการเป็นส่วนต่างๆเช่นอำนวยการปฏิบัติการเชิงรุก การบริหารพื้นที่ บริหารจัดการวัคซีน การบริหารจัดการความเสี่ยง.

logoline