ครู 13 คนที่จะถูกดำเนินคดี รวมกันทั้งหมดทำเด็ก 58 ครั้ง ผู้ปกครองแจ้งความ 32 คนถ้าหารกับการกระทำความผิด แสดงว่าแต่ละคนที่ไปแจ้ง น่าจะทำร้ายลูกมากกว่า 1 ครั้ง ถึงเป็น 58 ครั้ง ทีนี้ครู 13 คน บางท่านสอนอยุ่อนุบาล 1 เป็นไปได้มั้ยเป็นพฤติกรรมเลียนแบบ ครูห้องเอเห็นครูห้องซีทำแล้วไม่มีความผิด ก็คิดว่าทำได้?
นพ.สุริยเดว : "ก็เป็นไปได้ เพราะถ้าครูคุยกันเอง เขาก็คงถ่ายทอดประสบการณ์วิธีการควบคุมดูแล อย่าลืมว่าเด็กเล็กพื้นฐานอารมณ์เขาไม่เหมือนกัน บางคนบ้าพลัง ให้เขานั่งนิ่งๆ เป็นไปไม่ได้ เรื่องจัดห้องถึงบอกว่าผิดหลักจิตวิทยา บางคนเขาต้องการพลังเยอะๆ เขาสมาธิสั้น ซึ่งสั้นทั้งโลกไม่ได้สั้นแค่เด็กไทย มันสั้นอยู่แล้วในเด็กวัยแค่นี้ ถ้าคุณครูมีความคาดหวังสูงบนแรงกดดันอะไรบางอย่างที่เขาต้องเร่งรัดเรียนก็จะออกมารูปแบบนี้ ก็คงถ่ายทอดกันว่าถ้าใช้วิธีนี้เอาเด็กอยู่ก็เลยเกิดเป็นพฤติกรรมเลียนแบบกันเอง แต่ระบบที่มีปัญหาที่ย้ำมาตลอดว่าระบบบริหารตรงนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะระบบรับครู ระบบในการพัฒนาครู คณะกรรมการศึกษา รวมถึงผู้บริหารโรงเรียนต้องรู้สิ ต้องลงมาภายในดูว่านโยบายที่ให้ไว้ ตกลงเป็นอย่างนั้นมั้ย คุณมีซีซีทีวีไม่ได้เป็นหลักประกัน อันนี้จะเห็นว่ามันหลวมทั้งระบบ"
วิธีการแก้คืออะไร?
นพ.สุริยเดว : "มีสามคำ หนึ่งสำนึก สองจริงใจ สามคือจริงจัง สำนึกที่จะทำให้วันนี้หยุดกระแสพี่น้องมวลชนพี่น้องทั้งประเทศ แรงเหวี่ยงไปสู่ผู้ปกครองทั้งประเทศ เมื่อเป็นลักษณะแบบนี้ ผู้บริหารต้องแสดงความสำนึก เขาขอโทษแล้ว แต่เข้าใจว่าการเสนอบทลงโทษตัวเองสำคัญ กฎหมายเอื้อมไปไม่ถึง แต่จริยธรรมและคุณธรรมปรากฎในตัวอยู่แล้วว่าสิ่งที่ทำมันเห็นว่าหลวมและละเลย ต้องจริงใจ แทนที่จะไปฟ้องผู้ปกครอง โรงเรียนเอาควรเอาจิตแพทย์ นักจิตแพทย์ กุมารแพทย์ เงินคุณมีอยู่แล้ว ตร.ด้วย ผู้ปกครองคนไหนต้องการฟ้องตัวเองก็ไม่เป็นไร เราบริการให้ตรงนั้น ความจริงใจตรงนี้จะซื้อใจผู้ปกครอง ถ้าคุณแสดงความจริงใจ สำนึกต่อเนื่อง ไม่มีใครหรอก ผิดพลาดไปแล้วจะไม่ให้อภัย"
เรื่องนี้ท่านมองยังไง?
ดร.อรรถพล : "ประเด็นแรกที่คุณหนุ่มพูดว่ามีครู 13 คน ข้อเท็จจริงคือไม่ใช่ครูทั้งหมด เราเรียกกันไปเอง ประเด็นแรกกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ว่าผมหรือใครรัฐมนตรีหรือใครต่อใคร ก็เสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ลำพังเสียใจแล้วไม่ทำอะไรเลยก็ไม่ใช่ ต้องแก้ปัญหาช็อตต่อช็อต ผมลงพื้นที่ตลอด และสั่งการ จริงๆ โรงเรียนเอกชนไม่ได้โบ้ยความรับผิดชอบ แต่โรงเรียนเอกชนในประเทศนี้ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ ให้เลขาธิการกระทรวงผมดูแล ถ้าโรงเรียนอยู่เขตจังหวัดไหนก็มอบศึกษาธิการจังหวัด ผู้ว่าฯ จังหวัด โอกาสโดยระบบราชการ โอกาสลงลึกเหมือนโรงเรียนของรัฐค่อนข้างยาก การพัฒนาครูในส่วนนี้เราให้เครดิตโรงเรียน วันนี้มองว่าสิ่งที่เกิดจะทำยังไง หนึ่งคนที่ทำผิดต้องได้รับโทษ และเราพร้อมให้ความช่วยหลือเต็มที่ คนผิดต้องได้รับโทษ และเราเชื่อว่าครูดียังมีอีกเยอะ แต่ขณะเดียวกันก็มีแกะดำ เราก็ต้องจัดการให้เห็นๆ ขณะนี้ส่วนสช.เราดูแลหนึ่งความปลอดภัยอันดับแรก ตอนนี้โรงเรียนเขาก็กำลังทำอยู่ ถ้าห้องน้ำไม่ปลอดภัยก็สั่งให้จัดการ ผมลงไปดูด้วยตัวเอง สองปัญหาเกิดจากคน"
ดร.อรรถพล : "วันนี้ต้องยื่นคำขาด ความบกพร่องคือผอ.หละหลวม ผอ.มีแต่ไม่ปรากฎตัว และเซ็นเอกสารอย่างเดียว ตอนนี้ผู้รับอนุญาตเขาเลยถอดถอดผอ.คนเก่าและแต่งตั้งคนใหม่ และเมื่อวานผมเข้าไปสั่งการเพิ่มว่าภายใน 15 วันคุณต้องแต่งตั้งรองผอ.ให้ครบ ที่ผ่านมารองผอ.ก็ไม่มี มีแต่ผอ.ซึ่งไม่รู้เป็นใคร ปกตินักเรียนแค่ร้อยกว่าคน คนเดียวยังทำไม่ทันเลย แล้วนี่มีนักเรียน 3 พันกว่า มีผอ.คนเดียวจะทันได้ยังไง"
นพ.สุริยเดว : "พอไม่มีผอ. อันนี้แหละที่ขอเรียกร้องว่าสำนึกผู้บริหารคืออะไร และเขาจะลงโทษตัวเองอย่างไร วันนี้คุณเองต้องประมาณตนเองด้วยว่า วันนี้ไม่ได้เป็นเรื่องท้าทายใคร แต่คุณจะแสดงความรับผิดชอบตรงนี้ยังไง"
ทนายเดชาเขาเข้ามารับเป็นที่ปรึกษาโรงเรียนสารสาสน์ฯ พาครูจุ๋มไปแจ้งความผู้ปกครอง อีกประเด็นแกบอกว่าโรงเรียนอื่นๆ ก็ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู ?
ดร.อรรถพล : "เรียนตรงๆ ว่าเรื่องใบประกอบวิชาชีพครู เดิมเราไม่มี แต่วันที่มีพ.ร.บ.การศึกษา เราเห็นว่าครูควรเป็นวิชาชีพควบคุม และให้หน่วยงานคุรุสภาดำเนินการ เพื่อให้ครูที่มีมาตรฐานวิชาชีพ มีจรรยาบรรณ มีความรู้ มีประสบการณ์ เราก็กำหนดกันค่อนข้างเยอะ แต่สุดท้ายผมเข้าใจนะว่าปี 2542 ไม่อาจเอาคนมานั่งวัดเป็นรายบุคคล ดังนั้นใครเป็นครูอยู่ก่อนที่พ.ร.บ. สภาครูมีผลบังคับก่อนปี 46 เขาจะให้ทุกคนโดยอัตโนมัติ 5 ปี และมีการต่อ"
พวกที่เป็นครูพี่เลี้ยง?
ดร.อรรถพล : "พวกนี้ไม่มี เพราะโดยวิชาชีพไม่ให้เขาสอน พี่เลี้ยงมีหน้าที่คอยใส่เสื้อ ใส่กางเกง อาบน้ำ จูงเด็ก"
พี่เลี้ยงมีสิทธิ์ถอดเสื้อผ้าเด็กผู้หญิงต่อหน้าครูผู้ชายมั้ย?
ดร.อรรถพล : "อันนี้ก็ไม่ได้ แต่ไม่วิจาร์ดีกว่า เข้าใจว่าไปยื่นฟ้องให้ศาลว่ากัน หนึ่งภาพมันเบลอ สองไม่ขออนุญาตให้ความคิดเห็นในส่วนนี้ เพราะถ้าข้อมูลนี้สุดท้ายไหนๆ ก็ฟ้องกันแล้ว ศาลว่าผิดหรือไม่ผิดก็ว่ากันไปตามกระบวนการ"
ผู้ช่วยครูหรือครูพี่เลี้ยง ท่านบอกคนพวกนี้ไม่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ต้องผ่านการคัดกรองในมุมไหน กรณีครูจุ๋มทำแบบนี้แล้วบอกว่าชีวิตลำบาก เขามีความกดดัน กดดันแล้วมาดูแลเด็กได้เหรอ?
ดร.อรรถพล : "ขณะนี้้ต้องยอมรับความจริงว่าทั้งประเทศเราไม่ได้ทำส่วนนี้ เราทำเรื่องวิชาชีพระยะสั้นอยู่บ้าง ถึงเวลาเอาเหตุการณ์นี้มาวางให้เป็นบรรทัดฐาน"
ต้องดูเรื่องจิตใจหรือสุขภาวะปากก่อน?
ดร.อรรถพล : "สิ่งที่สังคมคาดหวังเป็นสิ่งที่ควรทำทั้งนั้น บังเอิญว่ากฎหมายไปให้อำนาจกับผู้รับอนุญาตในการสรรหาสิ่งเหล่านี้ เราราชการไม่มีสิทธิ์ไปก้าวล่วง เราเป็นนโยบาย ตอนนี้เรื่องกฎหมายให้คณะทำงานยกร่างอยู่ เพราะเหตุการณ์สารสาสน์ต้องมากางดู"
นพ.สุริยเดว : "ถ้าผู้บริหารโรงเรียนใช้ไม่ได้ ผอ.ใช้ไม่ได้เหมือนลอยลม ถ้าใช้ไม่ได้ก็เอาออก ไม่ต้องรอให้เหตุเกิด"
สื่อต่างประเทศเอาเรื่องราวสารสาสน์ไปออกกัน แล้วก็พูดว่าถ้าเรื่องแบบนี้เกิดในประเทศที่เจริญแล้ว โรงเรียนนี้มีสิทธิ์ปิดไปเลย มองยังไง?
กรณีที่มีการตีเด็กจะหมดสารบบประเทศ?
ดร.อรรถพล: "เราก็อยากให้หมดเราไม่อยากเห็นภาพเหล่านี้เลยคนหมู่เยอะว่าต่อไปนี้ครูทุกคนต้องผ่านการคัดกรองสุขภาพจิตก็ทำได้แต่ไม่ได้รับประกันว่าการผ่านการคัดกรองแล้วเหตุการณ์ผ่านไปบริบทเปลี่ยนไปจะไม่มีเหตุการณ์นี้อีกเราก็ได้แค่สร้างมาตรการมากขึ้นตรวจตราให้มากขึ้น"
ถ้าเป็นกฎหมายเมื่อไหร่ก็บันเทิง?
ดร.อรรถพล: "ผมได้หารือผู้ใหญ่เช่นรมต.ท่านก็อยากให้เป็นกฎกติกาที่ชัดเจนแต่บังเอิญวันนี้เรามีพ.ร.บ.ถ้าพ.ร.บ.ไม่อนุญาตให้เรากำหนดได้เราก็ไม่สามารถทำอะไรได้"
ขอบคุณข้อมูล : รายการโหนกระแส