29 ก.ค. 2563 : The Global COVID-19 Index (GCI) จัดอันดับประเทศไทย เป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 และรับมือได้ดีที่สุดของโลก โดยประเทศไทย ได้คะแนนรวม81.84 เป็นอันดับ 1 ของโลก
สำหรับประเทศ 5 อันดับแรกของโลก ที่สามารถฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ได้ดีที่สุด รายงานผลประจำวันที่ 28 กรกฎาคม ได้แก่ ประเทศไทย เกาหลีใต้ ลัตเวีย มาเลเซีย และไต้หวัน
ส่วนประเทศที่เคยครองอันดับ 1 ในการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19อย่างประเทศออสเตรเลีย ขยับอันดับลงมาอยู่ในอันดับที่ 8 ขณะที่ นิวซีแลนด์ อยู่ในอันดับที่ 6 (รายงานผลอ้างอิงเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา)
The Global COVID-19 Index (GCI) จัดคะแนนดัชนีและอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากโควิด-19 เป็นอันดับ 2 จาก 184 ประเทศทั่วโลก โดยมีวิธีคำนวณร้อยละ 70 มาจากการใช้ Big Data รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลรายวันจากฐานข้อมูล 184 ประเทศทั่วโลก
ส่วนอีกร้อยละ 30 อ้างอิงข้อมูลเชิงสถิติอีกส่วนหนึ่งจากดัชนี The Global Health Security Index (GHS) ซึ่งริเริ่มโดยมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ จากข้อมูล 195 ประเทศทั่วโลก
Global Recovery Indexเป็นดัชนีและคะแนนที่แสดงถึงการบริหารจัดการรับมือ และการฟื้นตัวของแต่ละประเทศ จากสถานการณ์โรคโควิด-19 โดยประเมินจาก (คะแนนสูง หมายถึงฟื้นตัวได้ดี)
คะแนน 70% เป็นคะแนนรายวันที่ได้มาจาก
1. จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังดูแลอยู่ (active case) ต่อประชากร
2. ผู้ที่รักษาหายแล้วต่อผู้ติดเชื้อ
3.จำนวนการตรวจต่อจำนวนผู้ติดเชื้อ
4. จำนวนการตรวจต่อประชากร
คะแนน 30% เป็นคะแนนคงที่ ที่ได้มาจากดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพโลก (The Global Health Security Index: GHS) ที่ประเมินโดยมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University ประเทศสหรัฐอเมริกา ในหมวด
1.ความสามารถในการตรวจพบ และรายงานการติดเชื้อ
2.ความสามารถในการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ในการควบคุมโรค
3.ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณสุข ในการรักษาผู้ติดเชื้อ และดูแลบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
ประเทศไทย ได้คะแนนรวม 81.84 เป็นอันดับ 1 ของโลก
Global Severity Index เป็นดัชนีคะแนนที่แสดงถึงความรุนแรง ของสถานการณ์ของโรคโควิด-19 โดยประมวลผลจาก (คะแนนน้อย หมายถึงความรุนแรงน้อย)
คะแนน 70% เป็นค่าความรุนแรง ซึ่งวิเคราะห์ประจำวันมาจาก 2 ส่วน
1. จำนวนผู้ติดเชื้อต่อประชากร
2. สัดส่วนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 โดยเปรียบเทียบกับการเสียชีวิตจากโรคต่างๆ และต่อประชากร
คะแนน 30% เป็นคะแนนคงที่ ที่ได้มาจากดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพโลก (The Global Health Security Index: GHS) ที่ประเมินโดยมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University ประเทศสหรัฐอเมริกา ในหมวด
1.ความสามารถในการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาด
2.ความสามารถของระบบสาธารณสุข ในการควบคุมการระบาด
โดยประเทศไทย ได้คะแนนรวม 10.69 เป็นอันดับ 1 ของโลก
.ประมวลข้อมูลโดยศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม