ทั้งนี้ โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะนำเสนอผลการศึกษาเบื้อนต้นรายงานต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) ต่อไป แม้ว่าก่อนหน้านี้ทางคณะกรรมาธิการวิสามัญฯได้ขอขยายระยะเวลาศึกษาออกไป60 วันไปแล้วก็ตาม แต่ก็จะรายงานผลเบื้องต้นไปก่อนจากนั้นจะดำเนินการศึกษาต่อไปจนถึงกำหนดในเดือนกันยายน
สำหรับรายละเอียดผลการศึกษาเบื้องต้น โดยด้านเกษตรและพันธุ์พืช พบว่ากรณีการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่(UPOV) หากเข้าร่วมCPTPP จะส่งผลด้านบวกทำให้มีการคิดค้น วิจัย พัฒนาพันธุ์พืชใหม่มากขึ้น ช่วยให้ไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้านพัฒนาเมล็ดพันธุ์มากขึ้น และเกษตรกรไทยจะมีทางเลือกในการเข้าถึงพันธุ์พืชใหม่จากประเทศ CPTPP มีการแข่งด้านราคาเมล็ดพันธุ์ผ่านกลไกตลาด
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบด้านลบ คือ ไทยจำเป็นต้องแก้กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช2542ซึ่งอาจจะตัดเรื่องการแสดงที่มาของพันธุ์พืชใหม่หรือสารพันธุกรรมที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์มีผลต่อนักปรับปรุงพันธุ์พืชนำพันธุ์พืชดั้งเดิมของประเทศไทยเนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีฐานข้อมูลพันธุ์พืชดั้งเดิมของประเทศไทยที่สมบูรณ์เพียงพอสำหรับการตรวจสอบและมีผลต่อกลไกในการกำกับให้มีการขออนุญาตและทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์หากต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญา UPOV
นอกจากนี้ ผลการศึกษาฉบับดังกล่าวเสร็จสิ้นในปี 2562 จึงไม่ครอบคลุมถึงสถานการณ์โควิด-19 อีกส่วนหนึ่งมองว่าการเข้าร่วมความตกลง CPTPP อาจไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะช่วยดึงให้เกิดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของไทยเพิ่มสูงขึ้นแต่มีปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น การบังคับใช้กฎหมาย กฎระเบียบภายใน คุณภาพบุคคลากร เสถียรภาพทางการเมือง และต้นทุน เป็นต้น
พร้อมกันนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่ายังไม่มีการศึกษาประเมินผลกระทบที่ชัดเจนเรื่องการเปิดตลาดภาคบริการสาขาต่าง ๆ เช่น ท่องเที่ยว โลจิสติกส์ ก่อสร้าง และการขนส่ง เป็นต้น ซึ่งต้องขอให้ภาคเอกชนช่วยประเมินและศึกษาวิเคราะห์เพิ่มเติมว่าบริการสาขาใดบ้างที่จะ ได้รับประโยชน์และผลกระทบจาก CPTPP นโยบายของรัฐเองก็ต้องมีความชัดเจนว่าจะเข้าไปช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยสามารถ แข่งขันกับต่างชาติได้อย่างไร ควรเปิดบริการสาขาใดที่พร้อมเปิดตลาด ประเด็นการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เป็นต้น
กลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน (Investor-State Dispute Settlement : ISDS)และความกังวลเรื่องข้อบทที่ถูกระงับไว้ (Suspended)อาทิ ข้อบทเกี่ยวกับเรื่องData Exclusivityอาจจะถูกนำกลับมาบังคับใช้ใหม่ได้ในอนาคต และการก้าวสู่การเป็นMedical Hubของประเทศไทย ซึ่งประเด็นนี้ยังอยู่ในระหว่างรอข้อมูลจากสมาคมโรงพยาบาลเอกชน
ทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงการรวบรวมและสรุปประเด็นจากการประชุมเพียง 7 ครั้งเท่านั้น ซึ่งได้ศึกษารายประเด็น ยังมิได้มีพิจารณาในระดับมหภาคถึง ภาพรวมและผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยาและระบบสาธารณสุข