svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

อาชีวะเอกชน จับมือ สพฐ.ตอบโจทย์ห้องเรียนอาชีพ

11 มีนาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการ กพฐ.ได้มอบหมายให้ ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยการประสานความร่วมมือ ในกิจกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาชีพระยะสั้นในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

ระหว่างโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 กับวิทยาลัยอาชีวศึกษากุสุมภ์เทคโนโลยี ซึ่งนำโดย ผศ.ดร.ศุภเสฏฐ์ คณากูล นายกสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมสถานศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

อาชีวะเอกชน จับมือ สพฐ.ตอบโจทย์ห้องเรียนอาชีพ


อีกทั้งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 4 ดร.ปราโมทย์ แสนกล้า และผู้อำนวยการโรงเรียนสังกัด สพฐ.จำนวน 11 โรงเรียน ในวันพุธที่ 11 มีนาคม 2563 ณ ห้องประชุมวิทยาลัยอาชีวกุสุมภ์เทคโนโลยี โดยมีโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ที่เข้าร่วมดังต่อไปนี้
โรงเรียนบ้านหนองตาแก้ว
โรงเรียนบ้านท่าเลื่อนฯ
โรงเรียนบ้านหนองกะทุ่ม
โรงเรียนบ้านหนองขวางวิทยา
โรงเรียนวัดมิตรภาพวนาราม
โรงเรียนบ้านปางแก
โรงเรียนเบทาโกรวิทยา
โรงเรียนวัดกลางดง
โรงเรียนบ้านปากช่อง(คุรุสามัคคี 1)
โรงเรียนบ้านวังไทร
โรงเรียนบ้านคลองยาง
การดำเนินการดังกล่าวเป็นความร่วมมือทางวิชาการ และการพัฒนาความรู้ทางอาชีพ เพื่อนำไปเป็นแนวทางการในประกอบอาชีพ และแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน รวมทั้งนำความรู้ไปช่วยพัฒนาชุมชนโดยโรงเรียนอาชีวะเอกชน สนับสนุนครูสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ สมรรถนะทางวิชาชีพให้โรงเรียน
เป็นความสำเร็จทางวิชาการร่วมกันในการพัฒนาที่ใช้เครือข่ายพื้นที่เป็นฐาน การบูรณาการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนร่วมกันของโรงเรียนต่างสังกัด แต่กระทรวงเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์การปฏิรูปการศึกษาและดำเนินการตามนโยบายของนายณัฏฐพล ธีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

โดยโรงเรียนอาชีวะในพื้นที่ที่มีศักยภาพเข้ามาช่วย ในกิจกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาชีพ ซึ่ง อาชีวะเอกชน สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ส่งวิทยากรครูที่มีความถนัดในวิชาชีพระยะสั้นไปปฏิบัติการสอนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 10 สัปดาห์ โดยสอบถามความต้องการจากครูผู้สอนและนักเรียนในสังกัด สพฐ.


โดยเน้นสมรรถนะวิชาชีพที่นักเรียนสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ ไม่ว่าจะเป็นวิชางานพื้นฐานอาชีพ งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น นวดแผนโบราณ/แผนไทย การสนทนาภาษาอังกฤษ การตัดต่อวีดิโอและใช้เอฟเฟค และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นการสร้างเครือข่ายทางวิชาการที่เข้มแข็ง สอดรับกับนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ มีความสอดคล้องกับจุดยุทธศาสตร์ชาติ เป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ วัตถุประสงค์ของแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วน เรื่องการเตรียมคนสู่ศตวรรษที่ 21 และเป็นจุดเริ่มที่ดีในการสร้างเครือข่ายโรงเรียนอาชีวะเอกชนและ สพฐ.ในการสร้างห้องเรียนอาชีพ ผ่านครูอาชีวะในห้องเรียน สพฐ.อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เด็กได้มีพื้นฐานในการนำความรู้ไปประกอบอาชีพ และตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ได้อย่างมีคุณภาพ
และจากการลงนามครั้งนี้ ได้มีโรงเรียนนำร่องที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ได้มาเล่าถึงประสบการณ์และสิ่งที่ได้รับจากโครงการดังกล่าว จำนวน 4 โรงเรียนโดย ผอ.วิจิตร ไพรวิจารย์

ผู้อำนวยการโรงเรียนท่ามะนาวกล่าวว่า นักเรียนได้เรียนกับครูต่างชาติ 4 สัปดาห์ ทำให้นักเรียนได้รับความรู้และมีประสบการณ์ที่ดี กล้าสื่อสารและเกิดความสนใจ มีความกระตือรือร้น และยังถือเป็นการให้โอกาสกับเด็กด้อยโอกาสอีกด้วย

อาชีวะเอกชน จับมือ สพฐ.ตอบโจทย์ห้องเรียนอาชีพ


ผอ.สุทธิชา จันทะโคตรผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาวง กล่าวว่า เนื่องจากโรงเรียนขาดแคลนครูภาษาอังกฤษ การเข้าร่วมโครงการนี้ ทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์จากครูต่างชาติ มีความแปลกใหม่ ครูต่างชาติมีการเตรียมสื่อการสอนที่ไม่ซ้ำกันทุกครั้ง ทำให้เกิดความตื่นเต้นและเกิดความสนใจในทุกกิจกรรม
ผอ.มาลัย มูลภักดี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปรางคล้า กล่าวว่า เนื่องจากโรงเรียนใกล้กับแหล่งท่องเที่ยว จึงได้นำความรู้ทางด้านภาษาจากครูต่างชาติ ไปใช้ในการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น กิจกรรมมัคคุเทศน์น้อย และจากการจัดกิจกรรมการสอนที่น่าสนใจของครูต่างชาติ ทำให้นักเรียนสนใจและเกิดความกระตือรือร้น ผู้ปกครองพึงพอใจ ครูผู้สอนได้รับประโยชน์ และจะมีการต่อยอดโดยการจัดค่ายภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาทักษะให้เพิ่มสูงขึ้น
และ ผอ.กรวิษณ์ ด่านกระโทก ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสายชนวน กล่าวว่า โรงเรียนขนาดเล็ก และมีความด้อยโอกาสทางภาษา และเมื่อได้ครูต่างชาติมาช่วยสอน ทำให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น ครูต่างชาติมีเทคนิค สื่อการสอนและกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งส่งผลให้ครูที่สังเกตการสอนนำเทคนิคที่ได้รับมาใช้ในการส่งเสริมการเรียนได้เป็นอย่างดี
ซึ่งผลจากการดำเนินการเครือข่ายทางวิชาการของโรงเรียนเรืองศรีวิทยาในการส่งครูต่างชาติสอนการสนทนา ให้ กับโรงเรียนท่ามะนาว โรงเรียนบ้านเขาวง โรงเรียนบ้านปรางคล้า และโรงเรียนบ้านสายชนวน เกิดประโยชน์กับครูและผู้เรียนอย่างแท้จริง เป็นการปฏิรูปถึงห้องเรียนในรูปแบบวิชาการ ในการทำ MOU ครั้งนี้ เป็นการสร้างทางเลือกวิชาชีพ สร้างห้องเรียนอาชีพจากครูอาชีวะ ในโรงเรียน สพฐ. ซึ่งความเข้มแข็งนี้จะส่งผลการพัฒนาที่พื้นที่อย่างเข้มแข็งเป็นอีกหนึ่งความชื่มชมของกระทรวงศึกษาธิการที่เกิดขึ้นที่พื้นที่ในจังหวัดนครราชสีมาและจะเป็นอีกแนวทางที่จะเป็นตัวอย่างการพัฒนาให้กับหน่วยงานการศึกษาในจังหวัดอื่นๆต่อไป

อาชีวะเอกชน จับมือ สพฐ.ตอบโจทย์ห้องเรียนอาชีพ

อาชีวะเอกชน จับมือ สพฐ.ตอบโจทย์ห้องเรียนอาชีพ

logoline