สำนักงานประกันสังคม ให้สิทธิตรวจเชื้อโควิด-19 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากตรวจพบเชื้อโควิด-19 แต่ผู้ที่กังวลว่าตนเองจะติดเชื้อ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจ โดยมีโรงพยาบาลชั้นนำให้บริการ ค่าบริการเริ่มตั้งแต่ 3,000 บาท เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรณีเดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หากมีอาการป่วย มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ เจ็บหน้าอก ให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคมที่เลือกไว้ได้เลย แพทย์จะส่งตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ฟรี ในกรณีที่ติดเชื้อ โควิด-19 จริงๆ ก็จะได้รับการรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
แต่หากไม่สามารถไปโรงพยาบาลตามสิทธิ์ได้ เช่น ตอนนี้อยู่ต่างจังหวัด อยู่ต่างพื้นที่ สามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ หรือโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งตามระบบประกันสังคมได้ก่อนเลย โดยจะเบิกจ่ายเป็นกรณีฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง ซึ่งหากต้องสงสัยว่าติดเชื้อและต้องถูกกักกัน ให้แจ้งโรงพยาบาลตามสิทธิ์เพื่อรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ในกรณีที่ยังไม่มีอาการป่วย กรณีนี้ประกันสังคมไม่ครอบคลุมการตรวจ หากอยากตรวจหาเชื้อจริงๆ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง
กรณีไม่ได้เดินทางไปประเทศกลุ่มเสี่ยง
สำหรับคนที่กลัวว่าตัวเองอาจจะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มาแล้ว ทั้งที่ไม่ได้เดินทางออกนอกประเทศ หรือไม่ได้ไปประเทศกลุ่มเสี่ยง หากต้องการตรวจหาเชื้อเพื่อความมั่นใจ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจเองเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันมีโรงพยาบาลอยู่ไม่ที่แห่งที่ให้บการตรวจหาเรื้อไวรัสโควิต-19 เช่น
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลราชวิถี ค่าบริการตั้งแต่ 3,000-6,000 บาท
โรงพยาบาลเปาโล ทุกสาขา ค่าบริการตั้งแต่ 5,000-13,000 บาท
โรงพยาบาลรามาธิบดี ค่าบริการอยู่ที่ 5,000 บาท
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 ค่าบริการอยู่ที่ 5,000 บาท
โรงพยาบาลพญาไท 2 ค่าบริการอยู่ที่ 6,500 บาท
โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ค่าบริการอยู่ที่ 7.000 บาท
โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ ค่าบริการอยู่ที่ 9,900 บาท
***โดยค่าใช้จ่ายในการตรวขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของการติดเชื้อซึ่งอาจจะสูงกว่าข้อมูลข้างต้น
กรณีถูกตรวจพบว่าป่วยโควิด-19 และแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว จะยังได้รับคำจ้าง ดังนี้
ค่าจ้างจากนายจ้าง - กรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถใช้สิทธิ์ลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างไม่เกิน 30 วัน/ปี
เงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคม - กรณีเจ็บปวยด้วยโรครื้อรัง ประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนฯให้ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง (คิดจากฐานอัตราเงินเดือนสูงสุดของผู้ประกันตนแต่ละมาตรา) โดยไร้บครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเวันเป็นโรคเรื้อรัง จะได้รับเงินทดแทนฯ ไม่เกิน 385 วัน
ผู้ที่มีสิทธิ์รับเงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคม
ผู้ประกันตนมาตรา 33 (ทำงานกับนายจ้าง)
1. มีสิทธิ์ได้เงินทดแทนฯ เมื่อส่งเงินสมทบภายใน 15 เดือนย้อนหลัง ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม ก่อนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัวต้องลาป่วยและได้รับงินจากนายจ้างครบ 30 วันก่อน ส่วนที่ลาป่วยเกิน 30 วัน จึงสามารถยื่นขอรับเงินทดแทนฯ จากประกันสังคมได้
2. มีหนังสือรับรองจากนายจ้างว่าได้รับค่าจ้างในวันลาป่วยครบ 30 วันทำงานใน 1 ปีปฏิทินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้วจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างจริง โดยคิดจากฐานไม่เกิน 15,000 บาท ตามกฎหมายประกันสังคม โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 9 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นเป็นโรคเรื้อรัง จะได้รับไม่เกิน 365 วัน
ผู้ประกันตนมาตรา 38 (ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ลาออกจากงาน แต่ยังอยู่ในสิทธิ์คุ้มครอง 6 เดือน)
1. มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนฯ เมื่อสงงินสมทบภายใน 15 เดือนย้อนหลัง ไม่น้อยกว่า 3 เดือน และเจ็บป่วยภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน โตยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัวและต้องมีรายได้จากการประกอบอาชีพ หรือเจ็บปวยต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จึงถือว่ามีรายได้จากการทำงานก่อนการเจ็บป่วย
2. จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างจริง โดยคิดจากฐานไม่เกิน 15,000 บาท ตามกฎหมายประกันสังคม โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นเป็นโรคเรื้อรัง จะได้รับไม่เกิน 365 วัน
มีสิทธิรับเงินทดแทนฯ เมื่อส่งงินสุมทบภายใน 15 เดือนย้อนหลัง ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม ก่อนวันที่ข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว และต้องมีรายได้จากการประกอบอาชีพ
กรณีมีรายได้ หรือมีกิจการเป็นของตนเอง ให้นำหลักฐานมาแสดต่อเจ้าหน้าที่ จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างจริง โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 (4,800 บาท) ตามกฎหมายประกันสังคม โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 9 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นเป็นโรคเรื้อรังจะได้รับไม่เกิน 365 วัน
กรณีไม่ได้ทำงานกับนายจ้าง หรือไม่มีรายได้ จะไม่สามารถเบิกสิทธิ์เงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคมได้
ผู้ประกันตนมาตรา 41 (ลาออกจากมาตรา 39 แต่ยังอยู่ในสิทธิ์คุ้มครอง 6 เดือน)
มีสิทธิรับเงินทดแทนเมื่อส่งเงินสมทบภายใน 15 เดือนย้อนหลัง ไม่น้อยกว่า 3 เดือน และเจ็บป่วยภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัวและต้องมีรายได้จากการประกอบอาชีพ หรือเจ็บปวยต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จึงถือว่ามีรายได้จากการทำงานก่อนการเจ็บป่วย โดยจะได้รับสิทธิ์เหมือนกับผู้ประกันตนมาตรา 39