svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ปล่อยน้ำเหนือ ช่วยคนกรุง ไล่น้ำเค็ม

06 มกราคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ปัญหาน้ำประปาเค็มเป็นผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งที่ใกล้ตัวคนกรุงเทพ และ ปริมณฑลมากที่สุด ส่วนคนในพื้นที่ต้นน้ำรับผลกระทบหนัก ขาดน้ำกินน้ำใช้อุปโภค บริโภค และภาคการเกษตร จนส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง แค่เดือนมกราคมเริ่มรุนแรง ต้องลากยาวถึงเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่คาดการณ์ว่าจะมีฝนมาช่วย"

การระบายน้ำจาก2เขื่อนใหญ่ ทำให้เเม่น้ำเจ้าพระยา และ ลุ่มน้ำสาขา ที่ต้องอาศัยน้ำเจ้าพระยา ที่เคยแห้งเหือด กับมามีน้ำหล่อเลี้ยงระบบนิเวศน์ โดยเฉพาะปัญหาน้ำเค็มรุกน้ำจืดที่เข้ามาไกลกว่า100กิโลเมตร จนถึงปทุมธานี สถานีสูบน้ำดิบสำแล กระทบกับคนกรุงเทพ มวลน้ำจากเขื่อนใหญ่ที่เหลืออยู่ จะช่วยส่งผลทำให้ค่าความเค็มลดลงบ้าง แต่น้ำที่มีปริมาณน้อยกว่าปีก่อนๆอาจกระทบภาพรวมในระยะยาว

ปล่อยน้ำเหนือ ช่วยคนกรุง ไล่น้ำเค็ม


เนชั่นทีวีสำรวจสถานการณ์ภัยแล้งทีมข่าวสำรวจภัยเเล้งไล่ขึ้นมาจากอุทัยธานี เข้าสู่นครสวรรค์ โดยเฉพาะแม่น้ำสายสำคัญเจ้าพระยา รับน้ำจากแม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน ที่ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่มีปริมาณที่น้อยกว่าทุกปี ทำให้เกิดสถานการณ์ภัยแล้ง แล้ว13จังหวัด และ เสียงจะเกิดภัยแล้ง 43 จังหวัด ในจังหวัดนครสวรรค์ ยังไม่ถูกประกาศเป็นภัยแล้ง แต่มีต้นแม่น้ำสายสำคัญเจ้าพระยา ที่หล่อเลี้ยงคนไทยค่อนประเทศ 
เนื่องจากเป็นสายน้ำเหนือ ปิง วัง ยม น่าน และ เป็นจุดบรรจบ แม่น้ำปิง. มีน้ำน่าน หลังกรมชลประทานปล่อยน้ำจาก2เขื่อนภูมิพล และ เขื่อนสิริกิติ์ รวมวันละ 16ล้าน ลูกบาศก์เมตร มารักษาระบบนิเวศน์ ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำที่เคยเเห้งเหือดมีน้ำ โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ริมน้ำ รักษาระบบนิเวศน์ ตั้งแต่ นครสวรรค์ ลงไป อุทัยธานี สิงห์บุรี ชัยนาท อยุธยา จนถึงกทม. ที่ช่วยไล่ค่าความเค็มที่รุกมาถึงปทุมธานี เริ่มจาก อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์ กลับมาเลี้ยงปลากระชังได้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้น้ำแห้งถึงสันดอนทราย ชาวนครสวรรค์ ก็มาประกอบอาชีพได้ หลังจากก่อนหน้านี้ต้องอาศัยร่องน้ำ เพื่อขับเรือรับจ้าง

สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งจ.นครสวรค์ เกษตกรหลายรายต้องปล่อยให้นาข้าวแห้งตาย ทางชลประทานขอความร่วมมืองดทำนาปรัง เพราะมีน้ำใช้สำหรับอุปโภค บริโภค หล่อเลี้ยงระบบนิเวศน์ ไม่เพียงพอในภาคการเกษตร แต่จากการสำรวจชาวนา ชาวนา ยังเสี่ยง ทำนาและ ต้องขุดร่องน้ำ นำน้ำเข้ามาในพื้นที่นาข้าวของตนเอง ก่อนจะสูบน้ำใส่ต้นข้าวที่เพิ่งหว่านใหม่ เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นข้อมูลจากกรมชลประทาน ลุ่มเจ้าพระยา ขอความร่วมมือ งดทํานาต่อเนื่องในฤดูแล้ง ปี 2562/63) 
แต่ปัจจุบันมีการเพาะปลูกแล้ว 1.58 ล้านไร่ ซึ่งมีความเสี่ยง ที่จะขาดน้ำนับจากนี้ .....หากไม่มีฝนหลงฤดู หรือ การทำฝนหลวงไม่ได้ผล วิฤตแล้งปีนี้ อาจรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

ปล่อยน้ำเหนือ ช่วยคนกรุง ไล่น้ำเค็ม

logoline