ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนเรามีปัจจัยหลายอย่างที่ทำร้ายสุขภาพโดยไม่รู้ตัว ทั้งความเครียด การออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอาหารการกินซึ่งกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ที่นับตั้งแต่ช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก รวมถึงอวัยวะที่ช่วยผลิตน้ำย่อย ได้แก่ ตับและถุงน้ำดี ดังนั้น หากเกิดความผิดปกติขึ้นกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง ระบบทางเดินอาหารก็จะเริ่มแสดงอาการต่างๆ แม้อาการแสดงออกจะเป็นเพียงอาการท้องเฟ้อ เรอ ผายลม ซึ่งไม่ได้รุนแรง แต่ก็อาจรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันและสร้างความกังวลใจ หรืออาจเป็นสัญญาณเตือนโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ พยาธิในทางเดินอาหาร อาการแสบบริเวณหน้าอกซึ่งอาจเป็นอาการของโรคกรดไหลย้อน หรือโรคร้ายแรงอย่าง "มะเร็งกระเพาะอาหาร"
ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ท้องอืด ท้องเฟ้อ คืออาการของภาวะอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) ซึ่งพบบ่อยมากถึง 25% ของคนทั่วไป จะทำให้รู้สึกปวดท้องช่วงบน เนื่องจากระบบการย่อยไม่ปกติ ส่งผลให้ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้องและอึดอัด ไม่สบายตัว โดยอาการมักดีขึ้นและหายได้เอง หรือบางคนอาจมีอาการเรื้อรังจนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
สาเหตุของอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
มากกว่า 50% ไม่สามารถระบุสาเหตุของภาวะท้องอืดท้องเฟ้อได้ แพทย์จะให้การรักษาด้วยการรับประทานยา รวมถึงปรับเปลี่ยนอาหารและพฤติกรรม อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีอาการนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ รับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น รวมถึงเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีด ตัวเหลือง อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายอื่นๆ ซึ่งต้องมีการตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียด นอกจากนี้อาการท้องอืดท้องเฟ้ออาจมาสาเหตุและปัจจัยอื่นๆ ดังนี้
โรคประจำตัว ภาวะอาหารไม่ย่อยอาจเกิดจากผลข้างเคียงของโรคเรื้อรัง เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ กระเพาะเป็นแผล การติดเชื้อพยาธิ มะเร็งทางเดินอาหารหรือลำไส้ โรคลำไส้แปรปรวน หรือเป็นการทำงานที่ผิดปกติของลำไส้ นอกจากนี้โรคทางร่างกายอื่นๆ ก็สามารถทำให้เกิดอาการท้องอืดร่วมด้วย เช่น โรคไทรอยด์และโรคเบาหวาน เป็นต้น
อาหาร อาการท้องอืดท้องเฟ้อ รู้สึกมีลมในกระเพาะอาหาร จนอึดอัดไม่สบายตัว อาจเกิดจากอาหาร เช่น ผักผลไม้ที่มีเส้นใยมาก หากรับประทานมากเกินอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ นอกจากนี้ อาหารเผ็ด แอลกอฮอล์ อาหารไขมันสูง นมและกาแฟ และพฤติกรรมการรับประทานก็มีผลทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อได้เช่นกัน โดยเฉพาะการรับประทานอาหารเร็วเกินไป เคี้ยวน้อยและรับประทานอาหารมากเกินไป
ยา การรับประทานยาบางประเภทอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองของทางเดินอาหาร เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาคลายเครียด และยาปฏิชีวนะบางชนิด
อาการเรอ
เรอ เป็นการขับลมจากกระเพาะอาหาร ผ่านหลอดอาหารออกมาทางปาก อาจมีแค่เสียง หรือเรอออกมาพร้อมกลิ่นอาหาร เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่ชอบรับประทานอาหารเร็วและมากเกินจำเป็น เมื่อเรอออกมา อาจช่วยให้รู้สึกดีขึ้น แต่หากเรอบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคระบบทางเดินอาหารบางชนิด โดยเฉพาะเรอเปรี้ยว ขมปากและมีอาการแสบร้อนกลางอก อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคกรดไหลย้อน ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกช่วงวัยและกลุ่มที่มีความเสี่ยง เช่น มีน้ำหนักมาก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
สาเหตุของอาการเรอ
ผายลม หรือการตด
เป็นการปล่อยแก๊สในลำไส้ออกทางทวารหนัก ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการสะสมในระบบย่อย อาจมีเฉพาะเสียง กลิ่น หรือทั้งสองอย่าง ทางการแพทย์ระบุว่ามนุษย์ต้องตดเฉลี่ยวันละ 10-20 ครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติเป็นการระบายแก๊สที่สะสมอยู่ในร่างกายที่อาจส่งผลให้ท้องอืด แต่หากมีกลิ่นและเสียงผิดปกติ หรือเกิดขึ้นพร้อมกับอาการทางเดินอาหารอื่นๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าระบบการย่อยมีความผิดปกติ หรืออาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ โรคลำไส้อักเสบ
สาเหตุของการผายลม
ลมในท้องเยอะ ตดบ่อย ทำอย่างไร และวิธีป้องกันปัญหาท้องเฟ้อ เรอบ่อย แน่นท้อง
ทั้งปัญหาท้องเฟ้อ เรอ ตด เกิดจากสาเหตุคล้ายคลึงกัน การป้องกันจึงสามารถทำได้คล้าย ๆ กัน ดังนี้
หากพบปัญหาท้องเฟ้อ เรอ ผายลม ที่ผิดปกติหรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น แสบร้อนกลางอก ปวดเกร็งท้อง เจ็บหน้าอก ถ่ายเป็นเลือด ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง
การรักษาภาวะท้องเฟ้อ เรอ ตด
แม้ภาวะท้องเฟ้อ เรอ ตด จะเป็นเพียงอาการ ซึ่งไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่หากพบความผิดปกติร่วมกับอาการอื่นๆ อาจบ่งบอกถึงโรคร้ายที่ซ่อนอยู่ในระบบทางเดินอาหาร หรืออาจพัฒนาไปสู่โรคอื่นๆ ได้ ดังนั้นควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับผู้ที่ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าเป็นโรคที่อันตราย แพทย์อาจรักษาโดยการให้รับประทานยาแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรับประทานอาหาร รวมถึงนัดเพื่อติดตามอาการเป็นระยะ
5 อาหารที่ดีต่อระบบย่อยอาหาร
1 ธัญพืชเต็มเมล็ด
Whole Grains เป็นธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี มีส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเมล็ดและจมูกข้าวอยู่ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ควินัว และข้าวบาร์เลย์ หรือตัวอย่างอาหารที่ประกอบด้วยธัญพืชไม่ขัดสีก็เช่น ขนมปังและเส้นพาสต้าชนิดโฮลวีต
การบริโภคธัญพืชเต็มเมล็ดจะให้ใยอาหาร (Fiber) สูงกว่าธัญพืชที่ขัดสีจนขาว โดยธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีมีปริมาณใยอาหาร 4–10 กรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งใยอาหารจะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ทำให้อาหารไม่ค้างอยู่ในลำไส้นานและทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น จึงช่วยป้องกันท้องผูกและอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ได้
จากข้อมูลปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 แนะนำว่าผู้ใหญ่ควรได้รับใยอาหารประมาณ 25 กรัมต่อวัน สำหรับเด็กให้คิดจากจำนวนอายุ (ปี) +5 เช่น เด็กอายุ 5 ปี ควรได้รับใยอาหาร 5+5 = 10 กรัม
2 ผักใบเขียว
ผักใบเขียวเป็นอาหารบำรุงระบบย่อยอาหารที่ให้สารอาหารหลายชนิด เช่น ผักโขม ผักเคล คะน้า ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ปวยเล้ง และกวางตุ้ง เป็นแหล่งของสารอาหารหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นใยอาหาร โฟเลต แมกนีเซียม วิตามินเอ ซี และเค การกินผักใบเขียวเป็นประจำมีส่วนช่วยเสริมแบคทีเรียชนิดดีในระบบทางเดินอาหาร กระตุ้นการทำงานของลำไส้ และช่วยในการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
3 ผลไม้
ผลไม้เป็นอาหารบำรุงระบบย่อยอาหาร เพราะเป็นอาหารบำรุงระบบย่อยอาหารอีกชนิดที่ไม่ควรพลาด เพราะประกอบด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยผลไม้ที่ช่วยเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร เช่น
ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่แบลคเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ และสตรอว์เบอร์รี่ ซึ่งมีใยอาหารสูง
แอปเปิ้ล ประกอบด้วยสารเพคติน (Pectin) ซึ่งเป็นใยอาหารรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี
มะละกอ มีเอนไซม์ปาเปน (Papain) ที่ช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหาร โดยย่อยสลายโปรตีนจากอาหารที่เรากินให้มีขนาดเล็กลง และอาจช่วยลดอาการของโรคลำไส้แปรปรวนเช่น ท้องผูกและท้องอืดได้
กล้วย เป็นผลไม้ที่ย่อยง่ายและดีต่อระบบย่อยอาหาร เป็นแหล่งของโพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามินบี และวิตามินซี โดยกล้วยหอม 1 ผลกลางประกอบด้วยใยอาหารประมาณ 3 กรัม
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอาการปวดท้องควรจำกัดปริมาณการกินผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว เลมอน และเกรปฟรุต (Grapefruit) เนื่องจากผลไม้เหล่านี้มีความเป็นกรดที่อาจทำให้ไม่สบายท้องได้
4 โปรตีนและไขมันดี
อาหารประเภทโปรตีนหลายชนิดจัดเป็นอาหารบำรุงระบบย่อยอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดดีที่อาจช่วยรักษาสมดุลของแบคทีเรียและลดการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลาแซลมอน เต้าหู้ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ และถั่วพีแคน
5 อาหารที่มีโพรไบโอติกส์
โพรไบโอติกส์ เป็นจุลินทรีย์มีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์และให้ประโยชน์แตกต่างกันไป แต่หลายสายพันธุ์และให้ประโยชน์แตกต่างกัน สายพันธุ์ที่มักพบในอาหาร ได้แก่ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) และบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium)
หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหาร และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในทางเดินอาหาร โดยตัวอย่างอาหารที่มีโพรไบโอติกส์สูง เช่น โยเกิร์ตและอาหารหมักดองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกิมจิ ถั่วหมัก คีเฟอร์ คอมบูชา และเทมเป้ เป็นต้น
เคล็ดลับเสริมความแข็งแรงให้ระบบย่อยอาหาร
นอกจากการกินอาหารบำรุงระบบย่อยอาหารแล้ว การปรับพฤติกรรมการกินอาหารจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ตามปกติและช่วยให้สุขภาพโดยรวมแข็งแรง ดังนี้
แม้ว่าการดูแลระบบย่อยอาหารให้มีสุขภาพดีอาจดูยุ่งยากสำหรับบางคน แต่การเลือกกินอาหารบำรุงระบบย่อยอาหารในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ตามปกติ นอกจากนี้ ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย และเสริมให้สุขภาพโดยรวมแข็งแรง หากมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย หรืออาการในระบบย่อยอาหารอื่น ๆ ที่ไม่ทราบสาเหตุและอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์