svasdssvasds
เนชั่นทีวี

คลิปเด็ด

รู้จัก "วันเสือโคร่งโลก" หรือ "วันอนุรักษ์เสือโลก" (Global Tiger Day)

29 กรกฎาคมของทุกปีเป็น "วันเสือโคร่งโลก” หรือ "วันอนุรักษ์เสือโลก” เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเสือโคร่งในระบบนิเวศ โดย "วันเสือโคร่งโลก" ถูกกำหนดขึ้นจากการประชุมเสือโคร่งโลก (Tiger Summit) เมื่อปี พ.ศ. 2553 ณ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ทุก ๆ ปี จะกำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคม เป็น "วันเสือโคร่งโลก” หรือ "วันอนุรักษ์เสือโลก” เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเสือโคร่งในระบบนิเวศ และตระหนักถึงการอนุรักษ์เสือโคร่งและสัตว์ป่า โดย "วันเสือโคร่งโลก" ถูกกำหนดขึ้นจากการประชุมเสือโคร่งโลก (Tiger Summit)  เมื่อปี พ.ศ. 2553 ณ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก 

รู้จัก \"วันเสือโคร่งโลก\" หรือ \"วันอนุรักษ์เสือโลก\" (Global Tiger Day)

กลุ่มประเทศที่มีการกระจายของเสือโคร่ง จำนวน 13 ประเทศ ได้ร่วมกันกำหนดให้วันที่  29 กรกฎาคมของทุกปีเป็น "วันเสือโคร่งโลก" (Global Tiger Day) เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของ "เสือโคร่ง" รวมทั้งการปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของ "เสือโคร่ง"

ประเทศไทย มีประชากรเสือโคร่งในธรรมชาติ ประมาณ 130-160 ตัว ส่วนใหญ่พบในบริเวณผืนป่าตะวันตก ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง  ในอดีตเมืองไทยเคยพบ "เสือโคร่ง" อาศัยอยู่ตามป่าทั่วประเทศ  แต่ปัจจุบันมีประชากรเสือโคร่งอาศัยอยู่ตามพื้นที่อนุรักษ์ไม่กี่แห่งเท่านั้น

รู้จัก \"วันเสือโคร่งโลก\" หรือ \"วันอนุรักษ์เสือโลก\" (Global Tiger Day)

"เสือโคร่ง” เป็นสัตว์กินเนื้อ ผู้ล่าสูงสุดในห่วงโซ่อาหาร ทำหน้าที่ควบคุมประชากรสัตว์กินพืชไม่ให้มีมากเกินไป  ในอดีตเคยมีเสือโคร่งอยู่ 8 สายพันธุ์ย่อย แต่สูญพันธ์ไปแล้ว 3 สายพันธุ์ย่อย ปัจจุบัน "เสือโคร่ง" จึงตกอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ จากการล่าและทำลายถิ่่นที่อยู่อาศัย

"เสือโคร่ง” เป็นสัตว์กินเนื้อผู้ล่าสูงสุดในห่วงโซ่อาหาร ทำหน้าที่ควบคุมประชากรสัตว์กินพืชไม่ให้มีมากเกินไป ในอดีตเคยมีเสือโคร่ง อยู่ 8 สายพันธุ์ย่อย แต่สูญพันธ์ไปแล้ว 3 สายพันธุ์ย่อย ปัจจุบัน "เสือโคร่ง" อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ ด้วยภัยคุกคามจากการล่าและการทำลายที่อยู่อาศัย

รู้จัก \"วันเสือโคร่งโลก\" หรือ \"วันอนุรักษ์เสือโลก\" (Global Tiger Day)