svasdssvasds
เนชั่นทีวี

Health & Lifestyle

เรื่องต้องรู้ของผู้ป่วยโรคไต เปิดลิสต์ผักผลไม้โพแทสเซียมสูงที่ต้องระวัง

ลดเค็ม ลดโซเดียม ลดเสี่ยงโรคไต แล้วรู้หรือไม่ว่า ในผักผลไม้บางชนิด ไม่เค็ม ไม่โซเดียมสูง ก็อันตรายกับผู้ป่วยโรคไต มาดูกันว่าเลือกกินอย่างไรให้ปลอดภัยหายห่วง

รายงานของ The United States Renal Data System (USRDS) พบว่า ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไตสูงที่สุด ซึ่งการป้องกันโรคไตเริ่มต้นง่ายๆ แค่ลดการบริโภคโซเดียม และเพิ่มการรับประทานผักและผลไม้

ผักผลไม้ที่ผู้ป่วยโรคไตควรระมัดระวังในการกิน

แต่ในขณะเดียวกัน ไม่ว่าจะในผักหรือผลไม้ที่กินกันทุกวัน แม้จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ก็มีบางชนิดที่กลับมีอันตรายอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเพราะผักผลไม้เหล่านั้นมีสารพิษในตัวมันเอง ซึ่งถ้ากินในปริมาณน้อยอาจจะไม่ก่อให้เกิดพิษ แต่หากกินในปริมาณมากอาจจะเป็นพิษได้ หรือบางชนิดถ้ากินดิบๆ ก็จะเป็นพิษ แต่ถ้าทำให้สุกหรือผ่านกระบวนการให้ความร้อนก่อนสารพิษก็จะสลายตัวได้ ส่วนในผักผลไม้บางชนิดอาจมีสารหรือแร่ธาตุบางอย่างในปริมาณสูง และอาจจะก่อเกิดโทษกับ “ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง” โดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคไต เพราะผู้ป่วยโรคไตมักจะมีความบกพร่องในการขจัดโพแทสเซียมออกจากร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะ Hyperkalemia หรือภาวะที่มีปริมาณโพแทสเซียมในเลือดสูงเกินเกณฑ์ และไตต้องทำงานหนักในการขับแร่ธาตุ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและระบบหัวใจ ดังนั้น สำหรับผู้ป่วยโรคไตจึงควรระมัดระวังในการกินผักผลไม้

ผักผลไม้ที่ผู้ป่วยโรคไตควรระมัดระวังในการกิน

 

ผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคไตควรกินอย่าง “ระวัง” 

  • ใบกะเพรา
  • กระถิน
  • แครอท
  • ผักแพว
  • ผักคะน้า
  • เห็ดฟาง
  • ฟักทอง
  • บร็อกโคลี่
  • กะหล่ำดอก
  • ผักกาดขาว
  • กะหล่ำปลี
  • กุยช่ายดอก
  • ผักกวางตุ้ง
  • ถั่วฝักยาว
  • มะรุม
  • ผักโขม
  • หน่อไม้
  • ผักโขม
  • หน่อไม้
  • หน่อไม้ฝรั่ง
  • ขี้เหล็ก
  • ชะอม
  • หัวปลี
  • เห็ดโคน
  • มันฝรั่ง
  • ผักชี
  • มะเขือเทศ
  • ทุเรียนหมอนทอง
  • ทุเรียนก้านยาว
  • ทุเรียนชะนี
  • กล้วยหอม
  • กล้วยไข่
  • กล้วยน้ว้า
  • แก้วมังกร
  • กีวี่
  • ลำไย
  • น้อยหน่า
  • ฝรั่ง
  • ขนุน
  • ส้มสายน้ำผึ้ง
  • มะเฟือง
  • มะม่วงสุก
  • มะขามหวาน
  • ลูกยอ
  • แคนตาลูป
  • กระท้อน
  • ลูกพลับ
  • มะปราง
  • ผลไม้อบแห้งทุกชนิด เช่น ลูกเกด ลูกพรุน
  • ผลไม้หมักดองทุกชนิด
  • ผลไม้แช่อิ่มทุกชนิด

สำหรับผักผลไม้ข้างต้นยังสามารถกินได้แต่แนะนำให้กินในปริมาณน้อยๆ อีกประเด็นสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังคือ นอกจากผลไม้จะมีปริมาณโพแทสเซียมสูงแล้ว ยังอาจมีโซเดียมและน้ำตาลที่อาจส่งผลเสียต่อระบบการทำงานของไตและระบบภายในร่างกายอื่นๆ ได้ด้วย ดังนั้น หากผู้ป่วยมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่า 5.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ควรงดผลไม้ทุกชนิด (ชั่วคราว) นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไตควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการดูแลสุขภาพโดยรวม เนื่องจากในผู้ป่วยโรคไตแต่ละเคสอาจมีปัจจัยความเสี่ยงอื่นๆ ที่ควรต้องคำนึงถึงด้วย

ผักผลไม้สำหรับผู้ป่วยโรคไต

ผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำถึงปานกลาง แนะนำให้ผู้ป่วยโรคไตกินได้ในปริมาณที่เหมาะสม

  • ถั่วงอก
  • แตงร้าน
  • แตงกวา
  • เห็ดนางฟ้า
  • ฟักเขียว
  • พริกฝรั่ง
  • มะเขือเทศสีดา
  • พริกหยวก
  • บวบเหลี่ยม
  • ถั่วพู
  • หอมหัวใหญ่
  • น้ำเต้า
  • เห็ดหูหนู
  • ลองกอง
  • ลูกพีช
  • มังคุด 3 ผล       
  • ชมพู่ 2 ผล
  • องุ่นเขียว 8-10 ผล
  • เงาะ 4 ผล
  • มะม่วงดิบ
  • สับปะรด 8 ชิ้นคำ
  • ลูกแพร์
  • แอปเปิล 1/2 ผลกลาง
  • พุทรา 2 ผลใหญ่
  • ลองกอง 6 ผล

ผลไม้ทั้งหมดนี้จัดอยู่ในกลุ่มผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมต่ำ ซึ่งถือว่าปลอดภัยต่อผู้ป่วยโรคไตที่ควรจำกัดปริมาณโพแทสเซียมให้ไม่เกิน 4.7 กรัมต่อวัน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง หรือผู้ป่วยโรคไตในระยะท้ายๆ

หวังว่าเรื่องนี้จะมีประโยชน์โดยเฉพาะกับคนที่เป็นโรคไต คนที่ต้องทำอาหารให้ผู้ป่วยกิน รวมทั้งคนที่กำลังดูแลสุขภาพ และเพื่อไม่ให้พลาดเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับสุขภาพ อย่าลืมกดติดตาม Nation STORY ในทุกแพลตฟอร์ม แล้วรออ่านคอนเทนต์ดีๆ ที่เราจะนำมาเสิร์ฟในทุกๆ วันได้เลย

 

 

 

แหล่งอ้างอิง : กรมอนามัย/คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล