โรค PTSD คืออะไร อาการเป็นยังไง อันตรายแค่ไหน หลังผู้ป่วยเผยเรื่องราวสุดสะเทือนใจ และมีความต้องการให้พรรคก้าวไกลแก้ไขกฏหมายเกี่ยวกับการข่มขืน
กำลังเป็นชื่อที่ถูกค้นหาอย่างแรง สำหรับชื่อโรค PTSD นี้ และกำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลงจากที่มีหญิงสาวรายหนึ่งออกมาเปิดเผยเรื่องราวสะเทือนใจ จนทำให้ตัวเธอต้องกลายเป็นโรคดังกล่าว
และมีความต้องการให้พรรคก้าวไกลให้พรรคก้าวไกล ออกมาแก้ไขกฎหมายข่มขืน ไม่ควรถูกลดโทษ เพราะเป็นสิ่งที่คิดมาแล้วว่าจะก่อเหตุ และผลกระทบก็มาตกอยู่ที่ผู้เสียหาย โดยมองว่ากฏหมายปัจจุบันอ่อนเกินไป
มาร่วมไขข้อสงสัยเกี่ยวกับโรค PTSD ทีมข่าวเนชั่นออนไลน์ สืบค้น เสาะหารายละเอียด ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรค PTSD มาฝากกันตรงนี้ ครบทุกมุมพร้อมวิธีการรักษา
โรค PTSD ย่อมากจาก Post-traumatic Stress Disorder หรือ ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพบเหตุการณ์ความรุนแรง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือเกิดขึ้นกับผู้ที่ประสบพบเหตุร้ายด้วยตัวเอง
หรือเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์และเห็นเหตุการณ์สะเทือนใจนั้นโดยตรง หรือเป็นญาติใกล้ชิดกับผู้ประสบเหตุและได้รับรู้รายละเอียดข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนเกิดความเครียดและมีพฤติกรรมบางอย่างที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตตามมา ซึ่งผู้ที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจจากเหตุเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษา
เครียด ภาวะเครียด เครียดเกิดจากสาเหตุอะไรกันบ้าง?
ความเครียด คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมีความรู้สึกไม่สบายใจ กังวลใจ หรือกดดัน ซึ่งส่งผลต่อสภาพ ร่างกายและจิตใจ โดยความเครียดอาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ความเครียดจากงาน เครียดจากการใช้ชีวิต การไดรับความกดดันจากปัจจัยแวดล้อม ความเครียดในทำอาชีพ เป็นต้น
นอกจากนี้ เมื่อสมองเกิดความเครียดขึ้น ร่างกายจะตอบสนองโดยการผลิต ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือที่เรียกว่า “ฮอร์โมนแห่งความเครียด” ขึ้น ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการตื่นตัว พร้อมรับมือกับเรื่องต่าง ๆ ได้ทันท่วงที แต่หากผลิตฮอร์โมนดังกล่าวมากจนเกินไป จะส่งผลเสียตามมาเช่นกัน ซึ่งความเครียดเรื่องงานเป็นความเครียดที่มีผลอย่างมากต่อสภาวะอารมณ์และจิตใจ รวมไปถึง มีผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง โดยเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
• รับผิดชอบงานปริมาณมาก
การรับผิดชอบงานปริมาณมากสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การที่เราไม่เข้าใจในตัวงาน หรือ การที่เพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานมอบหมายงานให้เรามากจนเกินไป ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างล่าช้าและอาจเกิดการสะสมปริมาณงานที่ทำไม่เสร็จหรือทำไม่ได้มากขึ้น ส่งผลให้เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และทำให้เกิดความเครียดเรื่องงานตามมาได้
• บริหารจัดการเวลาได้ไม่ดี
เมื่อต้องเจอกับลักษณะการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ต้องปรับตัวในการทำงาน หรือต้องรับผิดชอบกับงานปริมาณมากขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาในการจัดลำดับความสำคัญของเนื้องานไม่ถูก เช่น ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนก่อนดี เป็นต้น ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดตามมา จนอาจต้องทำงานเกินเวลา รวมไปถึง เกิดความเครียดเรื่องงาน
• สภาพแวดล้อมในการทำงาน
สภาพแวดล้อมในที่ทำงานเป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานอย่างมาก เพราะนอกจากสภาพแวดล้อมในการทำงานจะแสดงถึงภาพลักษณ์ของบริษัทแล้ว ยังสะท้อนถึงความเป็นอยู่ในองค์กรอีกด้วย เช่น บรรยากาศในออฟฟิศที่วางโต๊ะทำงานติด ๆ กัน หรือการให้พื้นที่ของพนักงานแต่ละคนอย่างจำกัด เป็นต้น ซึ่งหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานลดลงและทำให้เกิดปัญหาความเครียดเรื่องงานได้
• ถูกคาดหวังจากคนอื่น
ในการทำงาน การถูกคาดหวังจากเพื่อนร่วมงานหรือผู้อื่น ถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะอาจเกิดจากเราที่สามารถรับผิดชอบในหน้าที่การงานนั้นได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้คนอื่นมองว่าเราสามารถพึ่งพาได้ และคาดหวังว่าจะสามารถทำงานที่มอบหมายให้ลุล่วงได้เช่นกัน เช่น เพื่อนร่วมงานขอความช่วยเหลือ หรือหัวหน้างานมอบหมายงานให้เรารับผิดชอบเพิ่มเติม เป็นต้น
ซึ่งในความเป็นจริงเราอาจจะไม่จำเป็นต้องสามารถจัดการกับงานดังกล่าวได้เพียงคนเดียวก็ได้ ซึ่งความคาดหวังเหล่านี้ได้ส่งผลร้าย ก่อให้เกิดความผิดพลาดและความเครียดตามมาได้
• เกิดจากตนเอง
ไม่ใช่เรื่องแปลก หากว่าความเครียดเรื่องงานมีสาเหตุที่เกิดจากตัวของเราเอง เพราะในการทำงาน อาจมีสาเหตุหรือปัจจัยต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ เช่น ปัญหาด้านสุขภาพหรือปัญหาด้านจิตใจที่ส่งผลต่อการทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ประกอบกับปริมาณงานที่เยอะ และถูกคาดหวังจากผู้อื่นมากเกินไป จึงอาจทำให้เกิดความเครียดเรื่องงานตามมา
อาการที่ส่งสัญญาณว่าคุณกำลังเครียดเรื่องงานมากเกินไป
ในทางกลับกัน เมื่อเราเครียดเรื่องงานมากเกินไป ร่างกายก็จะส่งสัญญาณเตือนให้ตัวเราได้รับรู้เช่นกัน โดยเฉพาะกับวัยทำงานที่ต้องรับมือกับความเครียดเรื่องงานและเรื่องต่าง ๆ ในชีวิต จึงทำให้เกิดอาการเครียดสะสมขึ้นในจิตใจ ซึ่งจะมีอาการแบบไหนบ้าง ไปดูกัน
• ไม่มีสมาธิ
เมื่อเกิดความเครียดเรื่องงานซึ่งเกิดจากปัญหาปริมาณงานที่เยอะจนเกินไป ไม่สามารถที่จะบริหารหรือจัดการได้ อาจส่งผลต่อการขาดสมาธิได้ เช่น สมองของเราไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้ และเมื่อทำงาน ทำให้ตัวงานไม่มีความคืบหน้า หรือมีประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยลง
• อารมณ์ไม่ดีหรือหงุดหงิดบ่อย
เมื่อเครียดเรื่องงานมากจนเกินไป โดยมีสาเหตุจากการถูกคาดหวัง ซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกกดมากจนเกินไป อาจทำให้เราเกิดอารมณ์และความรู้สึกในแง่ลบอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดคนอื่นง่าย โกรธอยู่เป็นประจำ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้
• รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
เมื่อเกิดความเครียดมากเกินไป ร่างกายและจิตใจจึงรับภาระมากขึ้น ทำให้เกิดความเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกอ่อนล้าได้ง่าย ทั้งนี้ สาเหตุของการเกิดอาการดังกล่าว อาจมาจากการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีความรู้สึกวิตกกังวลใจอยู่ตลอดเวลา
• วิตกกังวลกับทุกเรื่อง
เมื่อเกิดความวิตกกังวลใจขึ้น จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งทำให้เกิดปัญหานอนไม่หลับ มีอาการไม่สบายใจอยู่ตลอดเวลา มือและเท้าเย็น หรือเหงื่อแตก โดยสาเหตุของความวิตกกังวลอาจมาจากปัญหาในการทำงานได้ เช่น ความรู้สึกกลัวว่างานที่ทำจะออกมาไม่ดี หรือกลัวทำงานผิดพลาด เป็นต้น
• มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
ปัญหาความเครียดเรื่องงานมากเกินไป เช่น คิดถึงแต่เรื่องงานที่ทำไม่เสร็จอยู่ตลอดเวลา หรือกังวลว่างานที่ทำจะขาดคุณภาพ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความรู้สึกกังวลใจ ส่งผลให้นอนไม่ค่อยหลับ เกิดอาการกระสับกระส่าย และอาจมีผลกระทบอื่น ๆ ที่ตามมาได้ เช่น โรคซึมเศร้า เป็นต้น
ตรวจเช็ก...อาการที่เข้าข่ายโรค PTSD
โดยมีลักษณะอาการสำคัญ 4 อย่าง คือ
ภาวะแทรกซ้อนจากโรค PTSD
เนื่องจากภาวะดังกล่าวจะส่งผลต่อจิตใจของผู้ป่วย และทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตรวมถึงด้านอารมณ์ไปด้วย โดยสามารถนำพาไปสู่โรคภาวะทางจิตและพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตราย ได้แก่
โรคที่มีผลทางด้านจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคกลัว โรควิตกกังวล เป็นต้น
พฤติกรรมที่เป็นอันตราย เช่น การหันมาใช้สารเสพติด หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรืออาจทำร้ายตนเอง เป็นต้น
อาการทางร่างกาย เช่น มีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดหน้าอก เป็นต้น
การรักษาภาวะ PTSD
การรักษาภาวะดังกล่าวมีด้วยกันหลายวิธีและต้องใช้เวลาในการรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้นตามลำดับ ประกอบกับการดูแลจากคนรอบข้างประกอบด้วย โดยมีวิธีรักษาดังนี้
อีกหนึ่งมุมมองในการดูแลรักษาอาการ PTSD
"หากเกิดอาการดังกล่าวมากกกว่า 1 เดือน หรือมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จำเป็นที่จะต้อง เข้ารับการปรึกษากับแพทย์ ซึ่งอาจให้การรักษาด้วยการใช้ยาร่วมกับการทำจิตบำบัด" รศ. พญ.รัศมน กัลยาศิธิ ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
วิธีจัดการความเครียดในการทำงาน
เมื่อความเครียดเป็นเหตุ วิธีการจัดการความเครียดในการทำงานจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับปัญหาจากสภาพอารมณ์และจิตใจที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งจะมีวิธีการอะไรบ้าง มาทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กันเลย
• พิจารณาตนเอง
การรู้จักตนเองและทำความเข้าใจในตัวตนของเราเองนั้น นอกจากจะช่วยจัดลำดับความสำคัญ ในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตได้แล้ว ยังช่วยให้ตัวเรารับรู้ข้อดีและข้อเสีย รวมไปถึง นิสัยส่วนตัวของตนเอง เช่น เป็นคนคิดมาก หรือ มักมองโลกในแง่ลบ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นหัวใจสำคัญที่นำไปสู่การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ชีวิตของตนเอง ตลอดจนการทำงาน ซึ่งรวมถึงการจัดการกับความเครียดได้อีกด้วย
• จัดเรียงลำดับความสำคัญของงาน
หากรู้จักวางแผนและเรียงลำดับความสำคัญของงานแต่ละชิ้น จะทำให้เราสามารถจัดการกับงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การเริ่มทำงานที่มีความเร่งด่วนมากกว่าก่อน เป็นต้น ทั้งนี้ ยังช่วยป้องกันความสับสนที่เกิดจากการทำงานหลาย ๆ ชิ้นพร้อมกันได้อีกด้วย
• เรียนรู้ที่จะปฏิเสธ
คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะไม่ปฏิเสธ เพราะรู้สึกว่าการปฏิเสธเป็นการแสดงถึงความไม่มีน้ำใจหรือไม่ให้ความช่วยเหลือ ส่งผลให้เราเกิดความกลัวว่าจะถูกคนอื่นมองไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว การปฏิเสธโดยการอธิบายให้อีกฝ่ายเข้าใจ ย่อมเป็นเรื่องที่ดีกว่า เช่น ในการทำงาน หากเลือกปฏิเสธงานที่เราคิดว่าทำไม่ได้ พร้อมบอกเหตุผลไป ย่อมดีกว่าการรับงานชิ้นนั้นแล้วทำให้งานผิดพลาด ซึ่งจะทำให้ตกเป็นภาระของผู้อื่นในการแก้ไขงานต่อไป เป็นต้น
• อย่าเก็บความเครียดไว้คนเดียว
ความเครียดเป็นสิ่งที่ควรได้รับการระบายออกมา ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเก็บความเครียดไว้คนเดียว โดยเราอาจปรึกษาเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัวกับคนใกล้ตัวหรือคนที่ไว้ใจ เช่น เพื่อนหรือคนในครอบครัวของเราได้
• พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ
การพักผ่อนไม่เพียงส่งผลต่อความเครียดได้เช่นกัน ซึ่งเราสามารถแก้ไขปัญหาได้โดยการนอนหลับอย่างเพียงพอ อย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ อาจพักผ่อนโดยการทำสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ เช่น การดูหนัง หรือการฟังเพลง เป็นต้น ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น มีสมาธิมากขึ้น และส่งผลให้จดจำในสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
ขอขอบที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลพญาไท ,โรงพยาบาลรามาธิบดี ,โรงพยาบาลเพชรเวช