ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สะท้อนสู่สุขภาพมนุษย์แล้วอย่างเห็นได้ชัด ล่าสุดมีการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ของเนเธอร์แลนด์ เผยจำนวนผู้ป่วย "โรคพาร์กินสัน" ในประเทศเพิ่มขึ้นถึง 30% ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
Bas Bloem หัวหน้านักวิจัย กล่าวว่า "ปริมาณของขยะในสิ่งแวดล้อม ตลอดจนยาฆ่าแมลงที่เกษตรกรใช้เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกษตรกรและชาวสวนมีความเสี่ยงจากโรคพาร์กินสันมากขึ้น ขณะเดียวกันผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้กับฟาร์มเพาะปลูกก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน"
ซึ่งหากย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผู้คน 40,000 คนในเนเธอร์แลนด์ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น “โรคพาร์กินสัน” หรือมีอาการที่คล้ายกับโรคนี้ ทว่า ขณะนี้ตัวเลขดังกล่าวกลับเพิ่มขึ้นเป็น 63,500 คน ในขณะที่คนส่วนใหญ่คิดว่า “โรคพาร์กินสัน” เป็นโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ซึ่งความจริงแล้วมีผู้ป่วยถึง 1 ใน 3 ที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปี นั่นรวมถึงผู้ที่มีอายุ 20 และ 30 ปีด้วย และมีคนไข้ที่อายุน้อยที่สุดเพียง 13 ปีเท่านั้น
สำหรับ “โรคพาร์กินสัน” เป็นโรคเสื่อมของระบบประสาท ซึ่งตามสถิติแล้วมักพบในผู้สูงวัยที่มีอายุเฉลี่ย 60-65 ปี คนไทยมีโอกาสเป็นพาร์กินสัน 1-1.5 แสนคน ปัจจุบันพบว่าในประเทศไทยมีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นเช่นเดียวกับเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น และที่น่าตกใจคือพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 8 เป็นโรคพาร์กินสันก่อนอายุ 40 ปีอีกด้วย
สาเหตุของโรคพาร์กินสัน เกิดจากความเสื่อมของสมองอย่างช้าๆ ทำให้สารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ในสมองลดลง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเคลื่อนไหวร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวช้า, อาการสั่นหรืออาการแข็งเกร็ง รวมทั้งมีปัญหาในการทรงตัวด้วยเช่นกัน และยังพบว่าผู้ป่วยบางรายมีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน เนื่องจากโรคนี้สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมอีกด้วย พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุเฉลี่ย 60-65 ปี และผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่า 1.5 เท่า ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน เพราะโรคนี้ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม และผู้ที่สัมผัสกับยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าวัชพืชอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
โดยทั่วไปผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแสดงออกมากน้อยแตกต่างกันไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ด้าน เช่น อายุของผู้ป่วย ระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา ซึ่งอาการแสดงแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ
อาการที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
อาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการทางจิตประสาท เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล โมโหร้าย หรือบางรายอาจมีปัญหาเรื่องการรับกลิ่น มีอาการท้องผูก เวียนศีรษะ หรือง่วงนอนในตอนกลางวัน นอนไม่หลับในเวลากลางคืน เนื่องจากการทำงานผิดปกติของระบบประสาทนั่นเอง
ทั้งนี้ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ศาลในเมืองอัสเซิน ตัดสินว่าผู้ปลูกหัวดอกลิลลี่ต้องหยุดใช้ยาฆ่าแมลง เพราะอาจก่อให้เกิดโรคทางระบบประสาท แต่คดีกลับถูกกลับคำอุทธรณ์ในเวลาต่อ โดยผู้พิพากษาศาลชั้นต้น กล่าวว่า ผู้เรียกร้องมีความกังวลโดยชอบธรรมว่าการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชผสมกันทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคพาร์กินสัน โรคกล้ามเนื้อลีบ ALS และโรคอัลไซเมอร์
โดยก่อนหน้านี้ ในปีผ่านมามีการวิจัยของยุโรปที่นำโดยมหาวิทยาลัย Wageningen แสดงให้เห็นว่า 42% ของพื้นที่เกษตรกรรมของเนเธอร์แลนด์ มีระดับไนโตรเจนและฟอสเฟตมากเกินไป นอกเหนือจากการปนเปื้อนอย่างกว้างขวางด้วยสารประกอบยาฆ่าแมลง ซึ่งนำมาสู่ปัญหาด้านสุขภาพของชาวเนเธอร์แลนด์อย่างเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตามมาทั้งเรื่องของดินและอากาศ
source : www.ntvg.nl / dutchnews / ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพญาไท