svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

รักษ์โลก : เชื่อหรือไม่ว่า...ขยะอายุยืน คนอายุสั้น!!

รู้แล้วอึ้ง!! เปิดลิสต์อายุขัยของขยะแต่ละประเภทที่เราใช้ในชีวิตประวันจำ ว่าต้องใช้เวลาในการย่อยสลายนานแค่ไหน?

ในกิจวัตรประจำวันของเราทุกคนต่างก่อให้เกิด "ขยะ" แบบที่ปฏิเสธไม่ได้ ตั้งแต่ตื่นนอนมนุษย์สร้างสิ่งของเหลือใช้ที่ต้องทิ้ง อาทิ แปรงสีฟัน กล่องสบู่ ขวดแชมพูสระผม ทิชชู่ แก้วกาแฟ ถุงพลาสติก ช้อนกินอาหาร กระป๋องเครื่องดื่ม ที่หากนำมากองรวมกันเราจะเห็นภูเขาขยะที่อาจกินพื้นที่เทียบเท่าประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งนับว่ามากมายมหาศาลเลยทีเดียว

รักษ์โลก : เชื่อหรือไม่ว่า...ขยะอายุยืน คนอายุสั้น!!

ทุกสิ่งที่เราใช้ประโยชน์เสร็จแล้ว หากไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีจะกลับมาสร้างโทษ เปรียบดั่งดาบสองคม เหรียญสองด้าน เห็นได้ชัดจากภาวะโลกร้อน (global warming) และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (climate change) ซึ่งกลายประเด็นที่ทุกคนทั่วโลกให้ความสำคัญ จากปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งหิมะขั้วโลกเหนือละลาย น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรืออากาศร้อนขึ้น

มาดูกันว่าหากเราทิ้งขว้างขยะไม่เป็นที่ แต่ละอย่างจะใช้เวลาในการย่อยสลายนานแค่ไหน

รักษ์โลก : เชื่อหรือไม่ว่า...ขยะอายุยืน คนอายุสั้น!!

ขยะอายุสั้น (ย่อยสลายเร็ว)

  • เศษอาหาร พืชผัก-ผลไม้ ใช้เวลา 5 วัน - 1 เดือน 
  • เปลือกส้ม ใช้เวลา 6 ดือน
  • เศษกระดาษ ใช้เวลา 2-5 เดือน
  • ผ้าฝ้าย ใช้เวลา 1 - 5 เดือน
  • เชือก ใช้เวลา  3-14 เดือน
  • ใบไม้ ใช้เวลา 10-12 เดือน 

ขยะหลักปี

  • ผ้าขนสัตว์ ใช้เวลา 1 ปี
  • ถ้วยกระดาษเคลือบ ใช้เวลา 5 ปี
  • กล่องนม ใช้เวลา 5 ปี 
  • ก้นกรองบุหรี่ ใช้เวลา 15 ปี
  • รองเท้าหนัง ใช้เวลา 25-40 ปี

ขยะร้อยปี

  • กล่องโลหะ ใช้เวลา 50-100 ปี 
  • กระป๋องอลูมิเนียม ใช้เวลา  80-100 ปี
  • กระป๋องเหล็ก ใช้เวลา 100 ปี

ขยะอายุยืน

  • ขวดพลาสติก ใช้เวลา 450 ปี
  • ถุงพลาสติก ใช้เวลา 450 ปี
  • ฝาพลาสติก ใช้เวลา 450 ปี
  • หลอดดูดน้ำ ใช้เวลา 450 ปี
  • ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้เวลา 500 ปี 

รักษ์โลก : เชื่อหรือไม่ว่า...ขยะอายุยืน คนอายุสั้น!!

ขยะอมตะ

  • โฟม ไม่ย่อยสลาย
  • ขวดแก้ว ไม่ย่อยสลาย

รู้แบบนี้แล้ว ทุกครั้งที่เราจะทิ้งขยะจึงต้องแยกประเภทของขยะให้ถูกต้องตั้งแต่ต้นทาง ทว่า วิธีที่ดีที่สุดยังคงเป็นการลดใช้ และไม่ใช้สิ่งที่จะสร้างขยะ ซึ่งนั่นหมายถึงการตระหนักตั้งแต่การเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนเพื่ออนาคตที่ยั่งกว่านั่นเอง