ช่วงนี้มีกระแสพูดถึง ‘คาร์บอนเครดิต’ (Carbon Credit) ให้ได้ยินมากขึ้น เนื่องจากต่อจากนี้ไปองค์กรธุรกิจจะต้องมีส่วนรับผิดชอบกับสภาวะแวดล้อมโลก ด้วยการลดก๊าซเรือนกระจก อันเป็นต้นเหตุสำคัญของสภาพอากาศแปรปรวน แม้บางคนจะมองว่าเป็นของคาร์บอนเครดิตเป็นเรื่องไกลตัว แต่แท้จริงแล้วเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลก
"คาร์บอนเครดิต" (Carbon Credit) คืออะไร?
“คาร์บอนเครดิต” ตามความหมายที่องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) คือ “ศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศของโลก โดยนำมาคำนวนเป็นค่าเครดิต ให้สามารถซื้อ-ขายได้ เหมือนเป็นสินค้าประเภทหนึ่ง โดยหนึ่งเครดิตเท่ากับการสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตัน เพื่อขายให้กับประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศอุตสาหกรรม หรือแม้แต่เอกชนบางราย โดยประเทศหรือหน่วยงานเหล่านี้จะซื้อคาร์บอนเครดิตไปเพื่อใช้ขยายขอบเขตหรือชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเอง”
คาร์บอนเครดิต คือปริมาณก๊าซเรือนกระจก หรือจำนวนคาร์บอนไดออกไซด์ ที่กำหนดให้บริษัทสามารถปล่อยได้ต่อปี หากปล่อยมลภาวะน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ก็สามารถนำส่วนต่างไปจำหน่ายให้กับบริษัทอื่นๆ ในภาคอุตสาหกรรมได้ ซึ่งสิ่งนี้นี่เองที่เราเรียกว่า "คาร์บอนเครดิต" โดยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตถูกนำมาใช้เป็นแรงจูงใจและเป็นส่วนหนึ่งของกลไกลตลาดเพื่อโน้มน้าวให้โรงงานอุตสาหกรรมและผู้ผลิตรายใหญ่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ
ทั้งนี้ ประเทศในสหภาพยุโรปถือเป็นกลุ่มประเทศแรกๆ ที่รณรงค์เรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยมีการเก็บภาษีก๊าซเรือนกระจก หรือภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ซึ่งหลายๆ บริษัทก็มักจะทำโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย เช่น การปลูกต้นไม้คืนพื้นที่สีเขียวสู่สังคม หรือจ้างชาวบ้านในชุมชนปลูกต้นไม้สำหรับช่วยกรองมลภาวะและคาร์บอนฯ เพื่อเป็นการสร้างคาร์บอนเครดิต ถือเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนอีกทาง เพราะถือว่าต้นไม้ยิ่งมีจำนวนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยทำให้ก๊าซคาร์บอนฯ ในชั้นบรรยากาศลดลง
การซื้อขายคาร์บอนเครดิต
เมื่อได้ทราบกันไปแล้วว่าคาร์บอนเครดิตนั้นถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร ทีนี้เรามารู้จักกับแหล่งซื้อขายคาร์บอนเครดิต หรือเรียกกันว่า ตลาดคาร์บอนเครดิต (Carbon Market) ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
1. ตลาดคาร์บอนเครดิตของทางการ หรือภาคบังคับ (Mandatory Carbon Market)
ตลาดคาร์บอนเครดิตของทางการ หรือภาคบังคับ จะมีหน่วยงานของรัฐบาล และคณะกรรมการกลางอย่าง UNFCCC เข้ามาเป็นคนควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขององค์กรต่างๆ อย่างเข้มงวด รวมไปถึงเป็นผู้ดำเนินการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยเช่นกัน
โดยตลาดคาร์บอนของทางการส่วนใหญ่จะบังคับใช้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศกำลังพัฒนาที่มีอัตรารายได้สูง
2. ตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market)
ตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ คือ ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่ยังมีผู้ซื้อขายไม่มากนัก แม้จะมีหน่วยงาน หรือองค์กรคอยดูแลการแลกเปลี่ยน แต่ภาคอุตสาหกรรมในประเทศเหล่านี้จะยังไม่ได้บังคับใช้กฎหมายควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะเป็นการซื้อขายคาร์บอนเครดิตกันด้วยความสมัครใจเอง
ซึ่งประเทศไทยเองก็อยู่ในตลาดคาร์บอนเครดิตแบบสมัครใจเช่นกัน โดยจะอยู่ในความดูแลของ องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เป็นผู้ควบคุมการซื้อขาย
ราคาคาร์บอนเครดิตในไทย
การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย ผู้ที่เข้าร่วมการซื้อขายจะต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และดำเนินภายใต้ผ่านโครงการ Thailand Voluntary Emissions Reduction หรือที่เรียกว่า T-VER ซึ่งเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยโดยความสมัครใจ ส่วนหน่วยวัดของคาร์บอนเครดิต คือ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq)
สำหรับราคาคาร์บอนเครดิตในไทย อิงตามรายงานของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ระบุว่า ราคาคาร์บอนเครดิตเฉลี่ยแล้ว มีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
อัพเดตล่าสุด : วันที่ 7 มิ.ย. 2566
ติดตามอัพเดทเพิ่มเติมได้ที่ carbonmarket
ประเภทต้นไม้ที่ขอรับรองคาร์บอนเครดิตได้ มี 2 ประเภท คือ
นอกจากนี้ ยังมีพืชกลุ่ม Blue Carbon เช่น หญ้าทะเล ที่สามารถขอการรับรองคาร์บอนเครดิตได้ด้วยเช่นกัน
58 พันธุ์ไม้ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนะนำว่าสามารถแปลงเป็นคาร์บอนเครดิตได้ ได้แก่
สำหรับกลไกการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในไทย ดำเนินการโดยองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยคนทั่วไป หรือภาคเอกชนที่สนใจ สามารถติดต่อขอคำแนะนำได้ที่ www.tgo.or.th เพียงแค่มีที่ดินปลูกต้นไม้ ก็สามารถเข้าสู่ธุรกิจนี้ได้แล้ว โดยการประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิตที่สามารถซื้อขายได้ จะประเมินโดยองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก
การขายเริ่มจากทำการลงทะเบียนสำหรับเปิดบัญชีในระบบทะเบียนคาร์บอน จากนั้นสามารถทำการขายได้ 2 วิธี คือ ขายผ่านแพลตฟอร์มตลาดซื้อขาย อิงราคากลางของตลาด และขายให้กับผู้ซื้อโดยตรง ราคาตามข้อตกลงของทั้ง 2 ฝ่าย
เงื่อนไขที่ต้องรู้
สำหรับผู้ที่สนใจจะปลูกต้นไม้ขายคาร์บอนเครดิต ข้อมูลจากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ระบุว่า จะต้องมีเงื่อนไขดังนี้
1. มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ประเภทไม้ยืนต้นตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป
2. มีเอกสารสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
3. มีความรู้ในการประเมินการกักเก็บคาร์บอนและจัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการ
4. มีการจ้างผู้ประเมินภายนอกมาตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
ที่มา :
คณะทำงานด้านพลังงาน หอการค้าไทย
องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม