ในการทดลองชุดแรกอย่างครอบคลุมพบว่า จะมีการเพิ่มความเร็วของรถไฟเป็น 385 กิโลเมตร/ชั่วโมง ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า และระยะเวลาในการเดินทางโดยรถไฟความเร็วสูงจะเหลือประมาณ 40 นาที เมื่อรถไฟเริ่มวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด ในขณะที่การให้บริการเชิงพาณิชย์กำหนดจะมีขึ้นในเดือนสิงหาคม
การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะทาง 142 กิโลเมตร เริ่มเมื่อปี 2559 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative) หรือ BRI ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการของจีน ที่จะทำให้อินโดนีเซียเป็นชาติแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีรถไฟความเร็วสูง
ในการทดสอบการใช้งานเมื่อวันจันทร์ (22 พฤษภาคม 2566) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบประสิทธิภาพของโครงสร้างรางรถไฟ, การสั่นสะเทือน, ระบบจ่ายไฟฟ้าฉุดลาก, การสื่อสารและการส่งสัญญาณ และระบบอื่น ๆ
ในวันทดสอบได้มีการเชิญสื่ออย่าง Straits Times ของสิงคโปร์, KompasTV ของอินโดนีเซีย และ Xinhua News Agency ของจีน ขึ้นไปทำข่าวการการทดสอบด้วย ซึ่งในทางเทคนิครถไฟความเร็วสูงสามารถเร่งความเร็วได้สูงสุด 385 กิโลเมตร/ชั่วโมง และการทดสอบขั้นตอนสุดท้ายจะดำเนินการภายใน 3 สัปดาห์ ที่คาดว่าจะประสบความสำเร็จด้วยดี
เมื่อเปรียบเทียบความเร็วของรถไฟความเร็วสูงของประเทศต่าง ๆ พบว่า รถไฟความเร็วสูงระบบพื้นผิวแม่เหล็ก หรือแม็กเลฟ (Maglev) ของญี่ปุ่น เป็นอันดับ 1 ด้วยความเร็วสูงสุด 603 กิโลเมตร/ชั่วโมง, รถไฟ TGV ของฝรั่งเศส อันดับ 2 ความเร็วสูงสุด 574.8 กิโลเมตร/ชั่วโมง จีนอันดับ 3 ความเร็วสูงสุดได้ 460 กิโลเมตร/ชั่วโมง และ Frecciargento ของอิตาลี ความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด มีแผนที่จะไปทำพิธีเปิดการให้บริการเชิงพาณิชย์ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ซึ่งมีรายงานว่ารางของรถไฟมีระบบเซ็นเซอร์ที่ทรงประสิทธิภาพ สามารถตรวจจับแผ่นดินไหวและมีระบบเตือนแจ้งเตือนล่วงหน้าด้วย