น.ส. รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและกำกับดูแลโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยกับ Nation STORY ว่า เงินบาทสัปดาห์หน้าเคลื่อนไหวในกรอบ 35.50-36.20บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปัจจัยชี้นำหลักอยู่ที่ข้อมูลเงินเฟ้อและยอดค้าปลีกเดือนม.ค ของสหรัฐฯ หากสูงเกินคาด ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าต่อได้ เนื่องจากตลาดจะมองว่าเป็นการยืนยันว่าเฟดไม่รีบลดดอกเบี้ย นอกจากนี้ ติดตามสถานการณ์ธนาคารภูมิภาคของสหรัฐฯและความขัดแย้งในตะวันออกกลาง
สำหรับการเคลื่อนไหวของสกุลเงินในภูมิภาคช่วง 1 ก.พ.- 9 ก.พ. พบว่า เงินบาท-ไทยนำโด่งอ่อนค่าสุด 1.27% รองลงมาเป็นริงกิต-มาเล เซีย 0.97% ดอลลาร์-สิงคโปร์ 0.42% หยวน-จีน 0.39% ดอลลาร์-ไต้หวัน 0.20% ส่วนสกุลเงินที่แข็งค่าคือ รูเปียห์-อินโดนีเซีย 0.93% เปโซ-ฟิลิปปินส์ 0.67% วอน-เกาหลีใต้ 0.48% รูปี-อินเดีย 0.10% ดอง-เวียดนาม 0.03%
สาเหตุที่เงินบาทปรับตัวอ่อนค่ารุนแรงกว่าสกุลเงินในกลุ่ม เกิดจาก
สำหรับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) นัดแรกเมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา เปิดโอกาสการลดดอกเบี้ยในระยะถัดไป หากแนวโน้มเศรษฐกิจทรุดตัว อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม กนง.เห็นว่า อุปสงค์ภายในประเทศยังขยายตัว และไทยไม่ได้อยู่ในภาวะเงินฝืด กรณีฐานของกรุงศรียังมองกนง.คงดอกเบี้ยตลอดปีนี้ แต่ยอมรับว่าท่าทีล่าสุดความเป็นไปได้ที่จะลดดอกเบี้ยปีนี้มีมากขึ้น คาดว่าจีดีพีปีนี้โต 3.48% แต่อาจปรับหลังสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) รายงานจีดีพีวันที่19 ก.พ.นี้
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยกับ Nation STORY ว่า เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลงต่อเนื่องในเดือนกุมพาพันธ์ มาจาก 2ปัจจัยหลักคือ 1. แนวโน้มเฟด ไม่รีบลดดอกเบี้ย หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะการจ้างงานยังคงออกมาแข็งแกร่งและดีกว่าคาด ส่งผลให้ เงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้น
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐ กิจไทยที่อาจช้ากว่าที่เคยประเมินไว้
โดยจากผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ล่าสุด ได้สะท้อนว่า มีกรรมการบางส่วนเห็นชอบให้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อให้สอดคล้องกับ ระดับศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจที่ลดลง
ซึ่งประเมินว่าเหตุผลดังกล่าว ก็พอจะเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้ กนง. อาจลดดอกเบี้ยนโยบายลงได้บ้าง เนื่อง จากปัญหาเชิงเรื้อรังมานาน ได้กดดันให้ระดับศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจนั้นต่ำลงกว่าในอดีต
นอกจากนี้ระดับศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยนั้นอยู่ที่ +3% ดังนั้น หาก กนง. มีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐ กิจในปีนี้ และปีหน้า ต่ำกว่าระดับศักยภาพอย่างมีนัยสำคัญ พร้อมทั้ง หั่นคาดการณ์อัตราการเติบโตของอุปสงค์ภายในประเทศ อย่าง การบริโภคภาคเอกชน เราก็พร้อมปรับมุมมองใหม่
จากเดิมที่คาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50 % ทั้งปีนี้เป็น กนง. อาจทยอยลดดอกเบี้ยได้ประมาณ 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ตั้งแต่การประชุมในเดือนมิถุนายน และอีกครั้ง ในการประชุมช่วงไตรมาสที่ 4 เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้สามารถกลับสู่ระดับศักยภาพได้ และช่วยให้อัตราเงินเฟ้อสามารถทยอยเข้าสู่เป้าหมาย 1%-3% ของ กนง. ได้อย่างยั่งยืน (เบื้องต้นประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 0.4% บนสมมติฐานเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง จนโมเมนตัมเงินเฟ้ออยู่ที่ +0.2%m/m เป็นอย่างน้อย)
อย่างไรก็ตาม มั่นใจในการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของกนง. หาก กนง. มีการส่งสัญญาณพร้อมปรับลดดอกเบี้ยลงที่ชัดเจนในการประชุมเดือนเม.ย. หรือ งานสัมนา Monetary Policy Forum เดือนเม.ย.นี้