svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

พาณิชย์ผนึกเอกชน ดันใช้มันเส้นทำอาหารสัตว์ ตั้งเป้า 2.5 ล้านตัน

พาณิชย์ ร่วมกับหอการค้าไทย ผลักดันเพิ่มการใช้มันสำปะหลังภายในประเทศ ทดแทนการพึ่งตลาดส่งออก โดยเฉพาะมันเส้นที่สามารถเชื่อมโยงไปยังผู้ใช้ในภาคการผลิตอาหารสัตว์เพื่อผู้เลี้ยงสัตว์ เป็นการแก้ไขสินค้ามันเส้นล้นตลาดและราคาตกต่ำ ป้องกันความเสี่ยงตลาดส่งออกในอนาคต

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการคนที่ 1 หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หอการค้าไทย ได้ให้ความสำคัญกับภาคธุรกิจเกษตรและอาหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับคนไทยส่วนใหญ่ในประเทศ โดยหอการค้าไทย ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตร และอาหาร หรือ ศูนย์ AFC (Agriculture and Food Coordination and Public Relations Center)  เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาสินค้าราคาตกต่ำและล้นตลาดร่วมกับภาครัฐและตลาด 

ในวันนี้ ได้ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน และสมาคมการค้าที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งช่วยประสานงานสมาชิกหอการค้าไทย หอการค้าจังหวัด  และสมาคมการค้าที่เป็นสมาชิกหอการค้าไทย ในการจัดช่องทางระบายสินค้า “มันเส้น” ที่มีคุณภาพ สะอาด มีมาตรฐาน  ไปยังกลุ่มโรงงานหรืออุตสาหกรรมแปรรูปโดยเฉพาะอาหารสัตว์ โดยหอการค้าได้รับข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ และภาคเอกชนที่ผลิตอาหารสัตว์ คาดว่ามีความต้องการใช้มันเส้นในการผลิตอาหารสัตว์ กว่า 2.5 ล้านตันหัวมันสด หรือคิดเป็นมันเส้นประมาณ 1 ล้านตันมันเส้น  
 

พาณิชย์ผนึกเอกชน ดันใช้มันเส้นทำอาหารสัตว์ ตั้งเป้า 2.5 ล้านตัน

นายวิทยากร มณีเนตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวภายหลังหารือร่วมกับ สภาหอการค้า แห่งประเทศไทยสมาคมผู้ผลิตมันภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันนี้ (24 ธ.ค. 67) ที่มหาวิทยาลัยหอการไทย  ว่า จากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายพิชัย นริพทะพันธุ์) ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในประสานงานร่วมกับภาคเอกชน โดยเฉพาะหอการค้าไทยและสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ในการผลักดันภาคปศุสัตว์และผู้ผลิตอาหารสัตว์ให้ใช้มันเส้นเพิ่มขึ้น จากภาวะราคาของมันเส้นที่ประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้ เพื่อเชื่อมโยงและเพิ่มปริมาณการใช้มันสำปะหลังในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ซึ่งสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ยินดีช่วยรับซื้อ “มันเส้น”  โดยต้องเป็นมันเส้นที่สะอาดและมีคุณภาพทั้งเชื้อแป้งและสิ่งเจือปนต้องได้มาตรฐานในการผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นมาตรการเร่งด่วนเพิ่มเติมจากมาตรการหลักทั้ง 4 มาตรการ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วเมื่อ 17 ธ.ค. 67 ที่ผ่านมา คือ 

พาณิชย์ผนึกเอกชน ดันใช้มันเส้นทำอาหารสัตว์ ตั้งเป้า 2.5 ล้านตัน

(1) ชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อก โดยชดเชยดอกเบี้ยให้ลานมัน/โรงแป้ง/โรงงานเอทานอล ที่รับชื้อมันสำปะหลังและแปรรูปเก็บสต็อกมันเส้น/แป้งมัน อัตรา 3% ต่อปี (2) สินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลคำเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื้อให้สถาบันเกษตรกรใช้เป็นเงินทุนหนุนเวียนรับซื้อมันสำปะหลัง สถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย 1% ต่อปี รัฐบาลสนับสนุน 3.50% (3)เพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกให้เกษตรกร โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรใช้เป็นเงินทุนในการพัฒนาการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น ระบบน้ำหยด รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย 3% ต่อปี และ (4) ยกระดับศักยภาพการแปรรูปมันสำปะหลัง (เครื่องสับมันฯ) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการผลิตให้กลุ่มเกษตรกรเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เป้าหมาย 650 เครื่อง นอกจากนี้ จากสถานการณ์ตลาดต่างประเทศที่ชะลอตัว กรมฯ จึงเตรียมโครงการชะลอการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง เพื่อให้เกษตรกรเก็บมันไว้ในดินและให้เชื้อแป้งเพิ่มขึ้น รวมทั้งลดปริมาณการเข้าสู่ตลาดของหัวมันสดด้วย

พาณิชย์ผนึกเอกชน ดันใช้มันเส้นทำอาหารสัตว์ ตั้งเป้า 2.5 ล้านตัน

กรมฯ จึงได้ดำเนินการนำร่อง โดยร่วมมือกับ สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการคัดเลือกสมาชิกลานมันผู้ผลิตมันเส้นสะอาดกว่า 40 รายทั่วประเทศ ที่สามารถผลิตมันเส้นให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ โดยกรมการค้าภายใน และสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันฯ จะร่วมกันดูแลการซื้อขาย ทั้งเรื่องคุณภาพ และราคา ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้สถานการณ์มันสำปะหลังในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น   

นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ กรรมการบริหารหอการค้าไทย และประธานคณะธุรกิจปศุสัตว์และแปรรูป ยืนยันว่า ผู้ผลิตอาหารสัตว์และเลี้ยงสัตว์ในประเทศ มีความยินดีที่จะใช้มันเส้นเพิ่มขึ้นในสูตรอาหารสัตว์  เพราะมันเส้นของไทยมีการพัฒนาขึ้นมาก ราคามันเส้นขณะนี้ก็สามารถใช้ได้ในสูตรอาหารสัตว์ ในสัดส่วนได้มากขึ้น แต่ต้องไม่มีการปนเปื้อนของกรวดดินทราย ซึ่งผู้ผลิตมันเส้นก็ได้ยืนยันว่าจะสามารถผลิตมันเส้นให้กับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ได้อย่างมีคุณภาพไม่มีการปนเปื้อนได้แน่นอน อีกทั้งผู้ผลิตอาหารสัตว์ในไทยก็มีความต้องการใช้วัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศมากขึ้นอยู่แล้วจากการที่ขาดแคลนวัตถุดิบหลายๆชนิด ซึ่งวัตถุดิบในประเทศจะมีความเสถียรภาพด้านราคาและอุปทานมากกว่า และลดการพึ่งพาวัตถุดิบอาหารสัตว์จากต่างประเทศลง

พาณิชย์ผนึกเอกชน ดันใช้มันเส้นทำอาหารสัตว์ ตั้งเป้า 2.5 ล้านตัน

นายปัญญา บุญบันดาลฤทธิ์ นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และนายวันชัย วิริยาทรพันธุ์ กรรมการที่ปรึกษาสมาคมฯ  กล่าวเสริมว่า สมาคมฯ จะประสานและดูแลสมาชิกของสมาคม ให้ผลิตมันเส้นสะอาดตรงกับความต้องการในการผลิตอาหารสัตว์ซึ่งเป็นตลาดภายในประเทศที่สำคัญ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการช่วยดูดซับมันเส้นและช่วยเหลือเกษตรกรได้ โดยถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งเพิ่มเติมจากตลาดส่งออก  และขอให้ชาวไร่มันใช้พันธุ์มันสำปะหลังที่ได้รับการรับรองซึ่งจะได้เชื้อแป้งสูง และเก็บเกี่ยวผลผลิตที่สะอาด ลดสิ่งเจือปนให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ใช้ปลายทางได้ใช้ของที่ดีมีคุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มได้ เป็นการส่งเสริมการผลิตมันเส้นสะอาดของไทย

ดร.ไพรัตน์ ศรีชนะ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสัตว์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้กล่าวเสริมว่า มันเส้นเป็นวัตถุดิบทางเลือกที่ดีสำหรับอาหารสัตว์ในปัจจุบันและสามารถพัฒนาเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับประเทศไทย   ซึ่งปัจจุบันไทยใช้มันเส้นในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ประมาณ 1.5 ล้านตันมันเส้น ซึ่งสามารถขยายการใช้ได้ถึง 2.5 ล้านตันมันเส้น หรือคิดเป็น 6.5 ล้านตันหัวมันสด ซึ่งเกษตรกรควรให้ความสำคัญกับคุณภาพทั้งด้านความสะอาด และเชื้อแป้งที่เหมาะสม