svasdssvasds
เนชั่นทีวี

Business

สศช.ห่วง 'หนี้ครัวเรือน' พุ่งแตะ 16.2 ล้านล้าน

สศช.ห่วง 'หนี้ครัวเรือน' พุ่งแตะ 16.2 ล้านล้าน
04 มีนาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> NationTV
logoline

สภาพัฒน์ชี้หนี้สินครัวเรือนไทยยังน่าเป็นห่วง ตัวเลขล่าสุดมีมูลค่ารวม 16.2 ล้านล้านบาท โดยมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพีอยู่ที่ 90.9% ยังต้องจับตาเอ็นพีแอลกลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัย บัตรเครดิต รวมถึงสินเชื่อยานยนต์ ที่เพิ่มสูงขึ้น

เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ดนุชา พิชยนันท์ ระบุ หนี้สินครัวเรือนไทยมีมูลค่ารวม 16.2 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.3% แม้จะชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ยังอยู่ในสัดส่วนที่สูง มีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 90.9%

สศช.ห่วง \'หนี้ครัวเรือน\' พุ่งแตะ 16.2 ล้านล้าน

ทั้งนี้ แม้ครัวเรือนจะชะลอการก่อหนี้ในเกือบทุกประเภทสินเชื่อ แต่ยกเว้นสินเชื่อส่วนบุคคลที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการสภาพคล่องของครัวเรือนในกลุ่มที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัว มีเหตุฉุกเฉินและจำเป็นต้องใช้เงิน หรือนำไปจ่ายหนี้สินหรือรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิต เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่เข้าถึงได้ง่าย

 

ด้านคุณภาพของสินเชื่อด้อยลงทุกประเภทสินเชื่อยอดคงค้างหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPLs มีมูลค่า 1.52 แสนล้านบาท ขยายตัว 7.9% จาก 2.7% ในไตรมาสก่อน และคิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมที่ 2.79% เพิ่มขึ้นจาก 2.71% ในไตรมาสก่อน

สำหรับข้อเสนอแนะในประเด็นหนี้สินครัวเรือนที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่

สศช.ห่วง \'หนี้ครัวเรือน\' พุ่งแตะ 16.2 ล้านล้าน

1. การติดตามผลของการบังคับใช้หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ในการแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือน Responsible Lending ที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ในการช่วยเหลือลูกหนี้ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้, ลูกหนี้เรื้อรังสามารถปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น และการคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ 

รวมทั้งต้องติดตามการเข้ารับความช่วยเหลือของกลุ่มลูกหนี้ที่มีปัญหาโดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นหนี้เรื้อรัง

2. การเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ สะท้อนให้เห็นถึงการขาดสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลที่อนุมัติเร็วและง่าย แต่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อประเภทอื่น และมีแนวโน้มจะเป็นทางเลือกสุดท้ายในการกู้ยืมเพื่อเติมสภาพคล่อง และหนี้เสียของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับยังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

3. การติดตามการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งต้องติดตามความสามารถในการไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบ หรือเปลี่ยนหนี้นอกระบบให้เป็นหนี้ในระบบ ซึ่งอาจต้องผ่อนปรนเงื่อนไขการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดอุปสรรคการให้กู้ยืมกับกลุ่มลูกหนี้นอกระบบที่เป็นกลุ่มที่มีเครดิตไม่ดีนัก รวมทั้งต้องมีการติดตามความสามารถในการจ่ายหนี้ของลูกหนี้นอกระบบอย่างต่อเนื่อง รวมถึงต้องพิจารณาร่วมกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ คือ การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้ไม่แน่นอน

logoline
News Hub