svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ความเสี่ยง! ของ "เขื่อนดิน" ในประเทศไทย

ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บอกว่า ประเทศไทยมีเขื่อนขนาดใหญ่ 33 แห่ง เขื่อนขนาดกลาง 367 แห่ง และเขื่อนขนาดเล็ก 4,000 กว่าแห่ง

เขื่อนขนาดใหญ่ที่ผลิตไฟฟ้าอยู่ในความรับผิดชอบของ กฟผ. ที่เหลือส่วนใหญ่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน และยังมีหน่วยงานอื่นๆ เป็นเจ้าของ เช่น กรมพัฒนาที่ดิน

เขื่อนทุกขนาด แทบจะไม่มีการประเมินความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง

และยังไม่มีเขื่อนไหนที่จัดทำแผนเผชิญกับความเสี่ยงให้กับท้องถิ่นเพื่อให้รับมือกับภัยพิบัติจากเขื่อนที่มีได้ตั้งแต่ภัยพิบัติจากการปล่อยน้ำทางระบายน้ำล้นฉุกเฉิน ไปจนถึงเขื่อนวิบัติหรือเขื่อนพัง

นอกจากนั้น ยังไม่มีระบบการเตือนภัยให้กับประชาชนที่อยู่ท้ายเขื่อน

ยิ่งเขื่อนขนาดกลางและเขื่อนขนาดเล็กยิ่งมีความเสี่ยงที่จะวิบัติสูง

เนื่องจากเขื่อนเหล่านี้ ไม่ได้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการก่อสร้างบางเขื่อนมีผู้รับเหมาช่วงหลายต่อ ทำให้มีการลดต้นทุนในการสร้างเขื่อน

หากจะป้องกันภัยพิบัติจากเขื่อน หน่วยงานเจ้าของเขื่อนจะต้องเร่งประเมินความเสี่ยง จัดลำดับความเสี่ยง

แก้ปัญหาความเสี่ยงด้วยการบำรุงรักษาเขื่อนให้มั่นคง จัดทำแผนเผชิญกับความเสี่ยงทุกรูปแบบให้กับท้องถิ่น มีระบบการเตือนภัย

และที่สำคัญ ต้องทำตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ใช่รอให้เขื่อนวิบัติ หรือปล่อยน้ำให้ท่วมชาวบ้านท้ายเขื่อนตามยถากรรม