บุคคลเหล่านี้ ถูกขนานนามว่าเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ต่อสู้เพื่อความถูกต้องในด้านต่างๆ แต่ชีวิตต้องจบลงด้วยอิทธิพลมืดที่มองไม่เห็นจากฝ่ายผู้เสียผลประโยชน์ ในลักษณะของการถูกสังหารและบังคับให้สูญหาย การต่อสู้ของครอบครัวผู้สูญเสีย จึงเป็นแรงผลักดันเพื่อถามหาความยุติธรรม อย่างภรรยาของนายเจริญ วัดอักษร ตลอดระยะเวลา11ปี ของการต่อสู้คดี หลังให้กับนายเจริญในชั้นศาล ต้องเผชิญกับการข่มขู่คุกคาม
สุดท้ายผลการต่อสู้ ก็จบลงด้วยคำพิพากษายกฟ้องจำเลย ซึ่งเขามองว่า เป็นการสะท้อนถึงกระบวนการยุติธรรมของไทย ที่ไม่สามารถปกป้องผู้ที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสังคมได้
มีบทสรุปร่วมกันว่าไม่สามารถเป็นที่พึ่งหวังของกระบวนการยุติธรรมได้ ถ้าความเป็นธรรมอยากจะได้ ชาวบ้านคงต้องพึ่งตนเองเป็นหลัก
วันนี้ถ้าเริ่มต้นจากฐานอคติ ไม่มีความยุติธรรมในใจ การทำหน้าที่ ....ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้จริงมั้ย ก็เกิดขึ้นไม่ได้...ยกฟ้องผู้กระทำต่อพวกเราเป็นส่วนใหญ่
เช่นเดียวกับกลุ่มสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ที่ต่อสู้ปกป้องสิทธิในที่ดินของชาวบ้านชุมชนคลองไทรพัฒนา จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อให้ชาวบ้านได้สิทธิในฉโนดชุมชน มาตลอดระยะเวลากว่า10ปี แต่สุดท้ายสมาชิกผู้ต่อสู้ก็ถูกสังหารถึง4คน
การจัดนิทรรศกาลภาพถ่าย แด่นักสู้ผู้จากไป for those who died trying ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ครั้งนี้ เป็นเพียงแค่หนึ่งสัญลักษณ์ที่จะบอกเล่าเรื่องราวกาของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้ง37คน ที่ต่อสู้จนวาระสุดท้ายของชีวิต ให้กับคนรุ่นหลังได้รับทราบ และแปรเปลี่ยนเป็นพลังให้ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อความถูกต้องในสังคม