"วธ.เตรียมหารือกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเตรียมความพร้อมและกำหนดรายละเอียดของนโยบายนี้ก่อนเสนอเรื่องรายงานให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) รับทราบ และประกาศเป็นนโยบายของกระทรวงต่อไปอย่างไรก็ตามนโยบายนี้ ไม่ได้ต้องการให้เด็กเล่นดนตรีเก่งถึงขนาดมืออาชีพ แต่ต้องการให้เด็กเล่นเครื่องดนตรีไทยเป็นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ดนตรีไทยไม่สูญหาย และยังเป็นการเยียวยาจิตใจ ฝึกให้เด็กมีสมาธิ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และยังเป็นการเผยแพร่ภูมิความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทย "พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าว
พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า กวช.ยังเห็นชอบแผนการดำเนินงานวัฒนธรรมของ วธ.ในปีงบ ประมาณ 2560 โดยจัดทำเป็นเคมเปญส่งเสริมวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืน 4ด้าน ได้แก่ 1.ส่งเสริมความเป็นเลิศทางศิลปวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในประเทศให้ส่งสริมทุกคนมีความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรม ด้วยการจัดแข่งขันการแสดงทางวัฒนธรรมในทุกรูปแบบ เพื่อให้ได้มาตรฐานที่ดีและทั่วถึง ส่วนต่างประเทศ ให้ศึกษารูปแบบการแข่งขันศิลปวัฒนธรรมระดับโลก เพื่อจัดกลุ่มและเตรียมความพร้อมเข้าร่วมแข่งขัน เช่นเดียวกับการเข้าค่ายนักกีฬา 2.การยกย่องบุคคลที่มีความรู้ความสามารถทางวัฒนธรรม เพื่อคัดเลือกเป็นศิลปาธร ให้เป็นแบบอย่างและยกย่องบูรพศิลปิน คือบุคคลที่ล่วงลับไปแล้วแต่ได้ทำผลงานให้กับประเทศอย่างใหญ่หลวง รวมถึงยกย่องบุคคลที่ทำความดี มีน้ำใจ มีคุณธรรมทางวัฒนธรรมและช่วยเหลืองานวัฒนธรรมอย่างแท้จริง 3.การส่งเสริมการแสดงที่ส่งผลคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ดี เช่น ภาพยนตร์ ลิเก เป็นต้น และ4.การกำหนดปฏิทินทางวัฒนธรรมในรอบ 1 ปีโดยผนวกเข้ากับปฏิทินการท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องและผลที่ดีด้านการท่องเที่ยวของประเทศ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานของสภาวัฒนธรรม ตามที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) เสนอ แต่ได้ฝากข้อสังเกตว่าให้เน้นการทำงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานและองค์กรที่ เกี่ยวข้องกว่า 200 องค์กรที่มีเครือข่ายประมาณ 5 แสนคน เนื่องจากสภาวัฒนธรรมจะเป็นเสมือนกำลังผู้ปฏิบัติหลักของ วธ.ที่จะทำงานในระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ด้านนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(รมว.วธ.) กล่าวว่า จะต้องมีการหารือกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อกำหนดให้รายละเอียดและเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะความพร้อมด้านบุคคลากรและอุปกรณ์โดยในโพลล์ได้สำรวจพบว่า ปัจจุบัน มีสถานศึกษาร้อยละ 68.11 ที่มีครูผู้สอนที่จบหลักสูตรดนตรีไทยโดยตรงร้อยละ 19.08 มีครูที่ไม่จบหลักสูตรดนตรีไทยโดยตรง และร้อยละ 6.27 มีครูผู้สอนจาก ร.ร.อื่นและจากการสำรวจความเห็นผู้ปกครองพบว่า มีสถานศึกษา ร้อยละ 52.06 ที่จัดการเรียนการสอนดนตรีไทย และมีสถานศึกษา ร้อยละ 38.45 ที่มีเครื่องดนตรีไทยไม่เพียงพอร้อยละ 23.48 มีครูสอนดนตรีไทยไม่เพียงพอ ร้อยละ 21.53 มีเครื่องดนตรีไทยเก่า/ชำรุด" ก่อนจะเริ่มนโยบายนี้ วธ.จะเข้าไปร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ จับอบรมครูสอนดนตรีไทยของสถานศึกษาต่างๆขณะเดียวกัน วธ.เตรียมสำรวจความพร้อมในส่วนของโรงเรียนเอกชน หรือโรงเรียนสังกัดอื่นๆซึ่งหากโรงเรียนใดไม่มีความพร้อม วธ.ก็จะเข้าไปช่วยสนับสนุนต่อไป" นายวีระ กล่าว