ไฟแนนเชียลไทมส์รายงานข่าวจุดแตกหักของความขัดแย้งเกิดขึ้นหลังจากพบว่ากาตาร์ทำการจ่ายเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ให้กับกลุ่ม Tahrir al-Sham ที่เชื่อมโยงกับอัลไกด้าในซีเรีย และให้กับอิหร่านกรณีการจับกุมตัวประกัน
ขณะที่นักวิเคราะห์การเงินเตือนผลกระทบอาจส่งต่อตลาดการเงินผันผวนจากการโยกย้ายเม็ดเงินลงทุน เนื่องจากกาตาร์ถึงแม้ว่าจะเป็นประเทศเล็กที่ถูกปิดล้อมจากเส้นทางคมนาคมทางเรือ แต่กลับมีกองทุนความมั่งคั่งมูลค่าสูงถึง 3.35 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งมีการลงทุนในบริษัท Volkswagen, Rosneft, Baclays, Credit Suisse และ Tiffany's
1.ขณะที่ทางการกาตาร์ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา โดยระบุว่าเป็นการละเมิดอธิปไตย พร้อมกับตอบโต้ว่าปะระเทศต่างๆเหล่านี้กำลังพยายามหาทางทำให้กาตาร์ตกอยู่ในฐานะเป็นรัฐในความคุ้มครอง
หลังจากที่ 6 ชาติอาหรับคือซาอุดิอาะเบีย บาห์เรน เยเมน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) อียิปต์ และลิเบีย แตกคอกาตาร์ ประกาศตัดสัมพันธ์ทาางการทูต รวมถึงระงับการเดินทางและขนส่งทั้งทางเครื่องบินและทางเรือ กล่าวหากาตาร์ให้การสนับสนุนทางการเงินและให้ที่พักพิงกลุ่มก่อการร้ายอัลไกด้า Anusara Front และกลุ่มรัฐอิสลาม (IS) ที่ก่อให้เกิดการทำสงครามในเยเมน ซึ่งถือเป็นการทำลายความมั่นคง ล่าสุดมีรายงานว่ามัลดีฟประกาศหันหลังกับกาตาร์ด้วยเช่นกัน
โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบีย บาห์เรน และยูเออี สั่งให้ทูตกาตาร์ออกจากประเทศภายใน 48 ชั่วโมง โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบียประกาศปิดพรมแดนตัดเส้นทางรถบรรทุกลำเลียงสินค้าวันละหลายร้อยเที่ยวที่เข้าสู่กาตาร์ ส่งผลให้ชาวกาตาร์ในกรุงโดฮาแห่ตุนสินค้า เหตุหวาดกลัวว่าจะเกิดผลกระทบในวงกว้าง
ขณะที่ยูเออี เยเมน ซาอุดิอาระเบีย และอียิปต์ ได้ระงับทุกเที่ยวบินไปและกลับจากกรุงโดฮาของกาตาร์แล้ว รวมทั้งสั่งห้ามพลเมืองห้ามเดินทางเข้ากาตาร์ รวมทั้งสั่งการให้ชาวกาตาร์ที่อยู่ในประเทศดังกล่าว เดินทางออกนอกประเทศภายใน 2 สัปดาห์นับจากนี้ไป
2.ทางด้านอิหร่านออกมากล่าวหนุนกาตาร์ ระบุว่าสหรัฐคือผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ข้อขัดแย้งในกลุ่มชาติอาหรับครั้งนี้ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า นอกเหนือจากความสัมพันธ์ระหว่างกาตาร์ที่มีท่าทีเป็นมิตรกับอิหร่าน และยังเรียกร้องให้ยกเลิกคว่ำบาตรต่ออิหร่านด้วยนั้น กาตาร์มีแหล่งก๊าซธรรมชาติที่เป็นเจ้าของร่วมกันกับอิหร่านอีกด้วย
นอกจากนี้ การแพร่ภาพข่าวสารของสำนักข่าวอัลจาซีร่าที่เป็นของกาตาร์ยังถูกต่อต้านในระหว่างข้อพิพาทครั้งนี้ด้วย รวมั้งต้องจับตาการเป็นเจ้าภาพเจ้าภาพจัดแข่งขันฟุตบอลบ์ World Cup ปี 2022 จะถูกกระทบด้วยหรือไม่ โดยที่กาตาร์ได้ตอบโต้ด้วยการระงับทุกเที่ยวบินกับซาอุดิอาระเบีย
3.ไฟแนนเชียลไทมส์รายงานข่าวจุดแตกหักของความขัดแย้งเกิดขึ้นหลังจากพบว่ากาตาร์ทำการจ่ายเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ให้กับกลุ่ม Tahrir al-Sham ที่เชื่อมโยงกับอัลไกด้าในซีเรีย และให้กับอิหร่านกรณีการจับกุมตัวประกัน
ทั้งนี้ แหล่งข่าวทางการท้องถิ่ยของกลุ่มแหรับเปิดเผยว่า จำนวนเงินเกือบ 300 ล้านดอลลาร์จ่ายให้กับ Jihadi Groups และอีกส่วนหนึ่งราว 700 ล้านดอลลาร์จ่ายให้กับอิหร่านและกลุ่มตัวแทน
4.ผู้เชี่ยวชาญตลาดการเงินโลกให้จับตาสัญญาณกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายเกิดผลกระทบผันผวนต่อตลาดการเงิน เนื่องจากกาตาร์ มี Sovereign Wealth Fund หรือกองทุนความมั่งคั่ง มูลค่าถึง 3.35 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งมีการลงทุนในบริษัท Volkswagen, Rosneft, Baclays, Credit Suisse และ Tiffany's รวมทั้งลงทุนในสินทรัพย์ของสหรัฐ หรือ American Assets กว่า 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์
สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นทันที โดยที่ตลาดหุ้นกาตาร์ร่วงลง 8% เป็นการตกต่ำมากที่สุดตั้งแต่ปี 2009 และเป็นจุดต่ำสุดนับจากเดือนมกราคม 2016 ส่วนอัตราความเสี่ยงของการแปลงสกุลเงินล่วงหน้า หรือ currency forward rate พุ่งขึ้นกว่า 2% สู่ระดับ 4.05%
กาตาร์เป็นประเทศเล็กๆ ในตะวีนออกกลางมีขนาดจีดีพี 1.74 แสนล้านดอลลาร์ รายได้ประชาชนต่อหัวต่อปีที่ 64,445 ดอลลาร์ ขณะที่มีประชากรเพียง 2.7 ล้านคน
5.ผลกระทบด้านราคาน้ำมันในตลาดโลก น้ำมัน Brent ทะเลเหนือพุ่งขึ้น 1.6% ที่ 50.74 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ล่าสุดลดลงอยู่ที่ 49.20 ดอลลาร์ สว่น WTI เวสต์เท็กซัส พุ่งขึ้นที่ 48.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก่อนร่วงที่ 47.07ดอลลาร์ แล้วมาเคลื่ีี่อนไหวที่ี่ 47.14 ดอลลาร์ช่วงเช้าวันนี้
ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกมีการปรับฐานลดลง โดยหุ้น 3 ตลาดหลักในสหรัฐลดลง 0.1-0.2% ส่วนหุ่นยุโรปลดลงเฉลี่ย 0.3% ยกเว้นหุ้นเยอรมันพุ่งขึ้นสวนทางถึง 1.2% ขณะที่หุ้นเอเชียเช้าวันนี้มีทั้งขึ้นและลง โดยหุ้นญี่ปุ่นร่วงลง 0.7% หุ้นเซี่ยงไฮ้ลดลง 0.05% หุ้นฮ่องกงเพิ่มขึ้น 0.26%