svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

วิจัยพบ​ 'ปลาดอร์ลี่'​ ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะและสารเคมีสูง​เกินค่ามาตรฐาน​ 25​ จาก​ 100​ ตัวอย่าง

ปลาดอร์ลี่ เป็นปลาที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยมากที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยบริโภคปลาดอลลี่ 30 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แต่งานวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่ามีสารปนเปื้อนสูงเกินค่ามาตรฐานและจะต้มหรือทำให้สุขก็อาจยังไม่สลายสารปนเปื้อนออกไปได้

19 มี.ค.62 - ศ.ดร.จงรักษ์ ผลประเสริฐ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า งานวิจัยผลกระทบและมาตรการรองรับสารอันตรายตกค้าง กรณีศึกษาปลาดอร์ลี่ ชิ้นนี้เกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่มีความเสี่ยงในการได้รับผลกระทบจากการรับประทานเนื้อปลาดอร์ลี่ ซึ่งเป็นปลาที่คนไทยนิยมรับประทานมากที่สุด เพราะหาซื้อง่ายและมีราคาถูก โดยประเทศไทยนำเข้าปลาดอลลี่ 11,000 กิโลกรัมต่อปี เฉลี่ยแล้วคนไทยบริโภคปลาดอลลี่ 30 กิโลกรัมต่อปีต่อคน ปลาดอลลี่ก็คือปลาสวาย ที่ส่วนใหญ่มากจากประเทศเวียดนาม โดยเป็นปลาเลี้ยงในกระชัง มีการให้ยาปฏิชีวนะป้องกันไม่ให้ปลาเจ็บป่วย จึงอาจตกค้างมาสู่ผู้บริโภค

วิจัยพบ​ \'ปลาดอร์ลี่\'​ ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะและสารเคมีสูง​เกินค่ามาตรฐาน​ 25​ จาก​ 100​ ตัวอย่าง



"แม้ว่าจะต้ม หรือทอดก็อาจ ยังไม่มั่นใจได้ว่า สารปนเปื้อนที่อยู่ในเนื้อปลา จะสลายไปด้วย" ดร.จงรัก ระบุ

ดร.วรุณศักดิ์ เลี่ยมแหลม อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่า ได้สุ่มตรวจสารปนเปื้อนของปลาดอร์ลี่ตามท่าเรือ สนามบิน โมเดิร์นเทรด รวมถึงแหล่งจำหน่ายต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มเออีซี (AEC) โดยจากการสุ่มตรวจ 100 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะ ที่ใช้ในกระบวนการเพาะเลี้ยงเกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด 25 ตัวอย่าง ซึ่งยาปฎิชีวนะต้องไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม หากผู้บริโภครับประทานเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดเชื้อดื้อยาในร่างกาย ซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของไทยที่น่าเป็นห่วง ทั้งนี้ ปัจจุบันคนไทยเสียชีวิตจากการดื้อยากว่า 38,000 คนต่อปี เจ็บป่วยกว่า 700,000 คนต่อปี คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี โดยล่าสุดงานวิจัยนี้ได้รับรางวัลวิจัยระดับดี จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปี 2562 ด้วย

ข้อเสนอของงานวิจัยชิ้นนี้ก็คือควรมีการตรวจสอบ สารปนเปื้อนจากต้นทาง ควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในกระชังเลี้ยงปลา อย่างเข้มงวด โดยใช้กฎหมายที่อยู่บังคับใช้ให้เกิดผล