ความกังวลของชาวชุมชนคลองเตย ถูกสะท้อนออกมาผ่านเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอของภาคประชาชน ที่จัดโดยสภาองค์กรชุมชน โดยการท่าเรือแห่งประเทศหรือ กทท. ส่งตัวแทนร่วมรับฟังและตอบข้อซักถาม
ชาวชุมชนคลองเตยซึ่งสร้างบ้านอาศัยอยู่บนพื้นที่ของ กทท. มาตั้งแต่ปี 2510 บอกว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกของแนวคิดการย้ายชุมชนที่มักถูกเรียกว่าสลัม แต่ครั้งนี้กทท.เตรียมสร้าง Smart Community รองรับ โดยมีทางเลือก 3 ทาง คือ ยังอาศัยอยู่ต่อแต่ต้องอาศัยในคอนโดขนาด 33 ตารางเมตร หรือ ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในที่ดินแปลงใหม่ที่หนอกจอก ซึ่งกทท.จัดหาให้ครอบครัวละ 1 แปลง หรือทางเลือกสุดท้ายคือรับเงินค่ารื้อถอนและกลับภูมิลำเนา
ประภา วิเศษฤทธิ์ ชาวชุมชนคลองเตย ที่เป็นแกนนำชาวบ้านในการต่อรองการมีส่วนร่วม ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิสภาองค์กรชุมชนคลองเตย บอกว่าไม่ได้ต้องการคัดค้านการพัฒนา แต่ต้องการมีส่วนร่วม ออกแบบที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนผู้ชาย 2 คนนี้ คือตัวแทนจากการท่าเรือฯ ทั้งคู่มีบทบาทในการตอบคำถามกับชาวบ้านที่นี่แบบคำต่อคำ // ดูเหมือนว่า ความชัดเจนเรื่องการย้ายชุมชนครั้งใหญ่สุดในประเทศจำนวน 13,000 ครอบครัวมีขึ้นล่าสุดเมืองเดือนมกราคม ทีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม มีการเปิดตัวโครงสร้าง Smart Community และขั้นตอนหลังจากนี้จะเริ่มจากการสำรวจความต้องการของชาวบ้านใน 3 ทางเลือก ซึ่งการท่าเรือตั้งเป้า เสนอแผนย้ายชุมชนเข้าที่ประชุม ครม.ในปี 2563ความจำเป็นในการพัฒนาพื้นที่ท่าเรือคลองเตยมีขึ้นหลังจากที่ กระทรวงคมนาคมมีนโยบาย ให้กทท.เพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ปีละ 3,500 ล้าน จากปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำมากเพียง 1.21% ของรายได้ทั้งหมด คิดเป็น 700 ล้านบาทต่อปี ต่ำกว่าเกณฑ์ของหน่วยงานและองค์กรอื่นๆ ซึ่งอยู่ที่ 4%-5%
กทท. จึงต้องการนำโมเดลซิตี้พอร์ท ของเมืองปูซานประเทศเกาหลีใต้มาเป็นแบบอย่าง เพื่อยกระดับให้คลองเตยให้เป็นเมืองท่าเรือระดับโลก ทั้งการจัดทำผังเมืองใหม่ พื้นที่อยู่อาศัยชุมชน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ร้านค้าปลีก ศูนย์วันสตอปเซอร์วิส นอกจากนี้ยังมีแผนลงทุนเชื่อมต่อระบบขนส่งรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าพื้นที่ท่าเรือคลองเตยด้วย โดยจะย้ายชุมชนคลองเตยไปอยู่ในคอนโดที่สร้างบนโรงงานฟอกหนังเดิม 58 ไร่ ซึ่งแผนแม่บทในการพัฒนาที่ดิน Smart Community ของการท่าเรือรวม 2,353 ไร่ ครั้งนี้ใช้งบประมาณกว่า 1 แสนล้านบาท