ย้อนกลับไปถึงเรื่องราวที่สุดอัศจรรย์เรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ หรืออย่างน้อยก็ 40 กว่าปีก่อน การทำเด็กหลอดแก้ว นับเป็นความท้าทายของวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นอันมาก
ขณะที่เด็กหญิงน้อย หลุยส์ บราวน์ลืมตาดูโลก ที่ชนบทเล็กๆ แห่งหนึ่ง ทางตอนเหนือของเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ทุกคนต่างๆตื่นเต้นดีใจ ไม่ต่างจาก เจ้าดอลลี่ แกะที่ถือกำเนิดโดยวิธีโคลนนิ่ง
แต่ก่อนที่เธอจะกำเนิดขึ้นมานั้น มีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ดังนี้
ในปี พ.ศ. 2512 นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 คน ผู้ซึ่งสร้างตำนานเรื่องนี้ คือ โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ดส์ (Robert Edwards) และ แพทริค สเต็ปโท (Patrick Steptoe) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ พวกเขาได้ค้นพบ และอธิบายถึงปรากฏการณ์ของการปฏิสนธิระยะแรกของเซลล์สืบพันธุ์ (ไข่ และอสุจิ) มนุษย์
ดร.แพทริก สเต็ปโท(ขวา) และ โรเบิร์ต เอ้ดวาร์ดส์ ในการแลถงข่าวครั้งสำคัญ (ภาพโดยDUNCAN BAXTER)
ต่อมา ปี พ.ศ. 2514 พวกเขาได้ทำงานวิจัยประสบความสำเร็จ ด้านการปฏิสนธิในหลอดแก้วของเซลล์สืบพันธุ์ "หนู" ก่อน และของ "คน" ในเวลาต่อมา โดยอาศัย "ไข่" ที่เกิดจากการกระตุ้น นอกจากนี้ ยังได้พัฒนา "น้ำยาเพาะเลี้ยงตัวอ่อน" อีกด้วย
4 ปีต่อมา เขาสามารถทำให้คนไข้ตั้งครรภ์ได้ แต่โชคร้าย คนไข้คนแรกตั้งครรภ์นอกมดลูก และคนไข้คนที่สองตั้งครรภ์เฉพาะจากการทดสอบผลเลือดเท่านั้น เพราะในเวลาต่อมา ค่าของผลเลือดบวกกลับลดลงและเป็นศูนย์ในที่สุด
จนกระทั่ง พ.ศ. 2520 "เลสลี่ บราวน์" ผู้ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับ "ท่อนำไข่" จนไม่สามารถมีบุตรได้นั้น เธอและสามีเข้ารับแนะนำและชักจูงให้ทำ "เด็กหลอดแก้ว"แม้แรกเริ่มพวกเขาไม่ค่อยเข้าใจว่าวิธีการทำนี้คืออะไร แต่ก็ตัดสินใจที่จะลองดูสักตั้ง
กระทั่งวันดีเดย์คือ10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 แพทย์ำด้ทำการเจาะ "ไข่" ใบที่สมบูรณ์หนึ่งใบออกมาจากรังไข่ของนาวบราวน์ แล้วหยอด "ตัวอ่อน" กระทั่งต่อมาพวกเขาพบว่า ตัวอ่อนมีการแบ่งตัวได้ 8 เซลล์อย่างสวยงาม จนกระทั่งเติบโตอยู่ในครรภ์ของ "เลสลี่ บราวน์" พูดง่ายๆ คือ เธอสามารถตั้งครรภ์ได้เป็นผลสำเร็จ
ในที่สุด วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 "หลุยส์ บราวน์" ก็ได้ถือกำเนิดมา ที่โรงพยาบาล Royal Oldham Hospital โดยฝีมือของแพทย์ผู้สร้างเธอนั่นเอง
ภาพวันที่หลุยส์ บราวน์ ถือกำเนิด 26 ก.ค. 1978 ที่เมืองแมนเชสเตอร์ ผลงานชิ้นโบว์แดงของ ศ.เอ็ดวาร์ดส์ (AFP)
หลุยส์ก็เหมือนกับเด็กธรรมดาทั่วๆ ไป เธอได้รับการดูแลเอาใจใส่จนเติบโตขึ้นมา โดยเชื่อหรือไม่ว่า หลังจากนั้น 4 ปี พ่อแม่ของเธอก็ได้ให้กำเนิดน้องสาวของเธอมาอีกคน ชื่อ "นาตาลี" ซึ่งก็กำเนิดด้วยวิธี "เด็กหลอดแก้ว" เช่นกัน และนาตาลีเองก็เติบโตขึ้นมาและดำเนินชีวิตเป็นปรกติ เช่นเดียวกับพี่สาว
เรื่องราวของสองพี่น้องได้ทำให้ทั่วโลกเข้าใจถึงความอัศจรรย์ของการทำเด็กหลอดแก้วว่าสามารถทำได้
หลุยส์ บราวน์ เด็กหลอดแก้วคนแรกของโลกในวัย 10 ขวบ (AFP)
ปัจจุบันบราวน์ทำงานที่ที่ทำการไปรษณีย์แห่งเมืองบริสตอล ประเทศอังกฤษ เธอแต่งงานในปี 2547 และให้กำเนิดบุตรชายคนแรกในอีกสองปีต่อมา
อนึ่ง เด็กหลอดแก้วคือเทคนิคการของการปฏิสนธิสังเคราะห์ที่เรียกว่า "In vitro fertilization" หรือ "IVF" โดยการนำอสุจิของพ่อและไข่ของแม่มาทำการปฏิสนธิในหลอดทดลอง จากนั้นจึงค่อยนำตัวอ่อนไปฝังในมดลูกเพื่อให้เติบโตตามธรรมชาติต่อไป
"หลุยส์ บราวน์" (เสื้อสีเขียวอ่อน) กำลังอุ้มลูกชาย กับ"เลสลีย์ บราวน์" แม่ของเธอ และศ.เอ็ดวาร์ดส์ ภาพนี้บันทึกเมื่อ 2551 (AFP)
ตั้งแต่นั้นมา วิทยาการทางด้านการเจริญพันธุ์ก็เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว การทดลองประสบความสำเร็จมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีการประท้วงการทดลองเด็กหลอดแก้วกันอย่างกว้างขวาง ศาสนจักรบางแห่งถึงกับออกมาประณามนักวิทยาศาสตร์ว่าเป็น "ซาตาน" ที่บังอาจทำตัวไปเทียบเคียง "พระเจ้า" ในการให้กำเนิดมนุษย์
อย่างไรก็ตามเทคนิคการทำเด็กหลอดแก้วก็ได้พิสูจน์ยืนยันว่าปลอดภัย นำความหวังมาให้พ่อแม่ที่มีปัญหามีบุตรยาก ทุกวันนี้การผสมเทียมในหลอดแก้วกลายเป็นเรื่องธรรมดาของคู่สมรสทั่วโลกที่ไม่สามารถมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติ
ส่วนในประเทศไทย เด็กหลอดแก้วรายแรกเกิดที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลังจากบราวน์ 9 ปี โดยฝีมือของ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประมวล วีรุตมเสน (http://www.thailadyclinic.com/index.php?topic=13.0)
ศ.โรเบิร์ต เอ็ดวาร์ดส์ ที่บันทึกเมื่อวันที่ 12 ก.ค.2551 ณ บอร์น ฮอลล์ คลินิก ซึ่งเป็นคลินิกแห่งแรกที่เปิดให้บริการทำเด็กหลอดแก้วสำหรับคู่รัก ในอังกฤษ (AFP)
อย่างไรก็ดี ภายหลัง "ศาสตราจารย์โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด" ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ประจำปี 2553และเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2558ภายในบ้านพักของเขาที่อยู่นอกเมืองเคมบริดจ์ด้วยวัย 87 ปี ถือได้ว่าท่านเป็นผู้วางรากฐานให้คู่สมรสที่มีบุตรยากทั่วโลกได้มีบุตรสมปรารถนา
////////////
เครดิต ภาพและข้อมูลจาก
-วิกิพีเดียhttps://en.wikipedia.org/wiki/Louise_Brown
- https://drseri.com/article/243 เขียนโดย พ.ต.อ. นพ.เสรี ธีรพงษ์