svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

แฉภาพทองคำแท่งโกโบริ ที่ว่อนโซเชียลไม่ใช่เรื่องจริง

แฉภาพทองคำแท่งโกโบริ ที่ว่อนโซเชียล ไม่ใช่เรื่องจริง คาดเป็นพวกสร้างเรื่องอัพราคาใบอนุญาตขุดสมบัติ หวังได้ราคาสูง อ้างว่าเป็นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ทองโกโบริ

จากกรณี กระแสโซเชียลเน็ตเวิร์กได้มีการโพสต์ภาพและแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการขุดพบทองคำแท่ง อ้างว่าเป็นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ทองโกโบริ เป็นจำนวนมาก สร้างความฮือฮาในสังคมออนไลน์อยู่ ณ ขณะนี้โดยมาการโพสต์เอาไว้เมื่อวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา

แฉภาพทองคำแท่งโกโบริ ที่ว่อนโซเชียลไม่ใช่เรื่องจริง



แฉภาพทองคำแท่งโกโบริ ที่ว่อนโซเชียลไม่ใช่เรื่องจริง



ล่าสุดวันนี้ 25 พ.ค.61 แหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ (ขอสงวนชื่อจริง) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว พบว่า การพบทองคำในพื้นที่ดังกล่าว "ไม่เป็นความจริง" แต่พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่อดีตฐานที่มั่นของทหารญี่ปุ่นจริง และอยู่ในพื้นที่เขตอิทธิพลของพรรครัฐมอญใหม่ ตั้งอยู่ใน เขต อ.ตันผิ่วซายัต จ.มะละแหม่ง มอญเรียกว่า อำเภอสะปุก (ศาลาขาว) โดยในห้วงสองปีที่ผ่านมา กลุ่มคนในประเทศยุโรป ได้ขอพรรครัฐมอญใหม่ เข้ามาค้นหาในพื้นที่ดังกล่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว และไม่มีการค้นพบทองคำ พบเพียงกระดูกคน และดาบซามูไรขนาดยาว ที่หักและผุ ฝังอยู่ในพื้นที่

แฉภาพทองคำแท่งโกโบริ ที่ว่อนโซเชียลไม่ใช่เรื่องจริง



แฉภาพทองคำแท่งโกโบริ ที่ว่อนโซเชียลไม่ใช่เรื่องจริง


การแพร่กระจายข่าวดังกล่าว แหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ให้ข้อมูล ว่า เมื่อห้วงประมาณ 6 เดือน หรือช่วงประมาณปลายปี 2560 มีเอกชนชาวเมียนมา ได้ขออนุญาตรัฐทำการสำรวจและในห้วงสิ้นเดือน มิ.ย.61 หนังสืออนุญาตจะสิ้นสุดลง จะต้องต่อสัญญา โดยผู้ลงทุนรายเดิมต้องการขายหนังสืออนุญาตก่อนที่จะหมดสัญญา และมีเอกชนรายใหม่สนใจ แล้วจะต่อสัญญา เจ้าของสัญญาเดิมจึงสร้างเรื่อง เพื่อสร้างมูลค่าให้กับสัญญาเดิม จึงได้ทำเช่นนั้น 

แฉภาพทองคำแท่งโกโบริ ที่ว่อนโซเชียลไม่ใช่เรื่องจริง

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 พ.ค.61 สำนักข่าวประชาสัมพันธ์เมียนมา ได้ลงข่าวสาร แถลงข้อเท็จจริง ว่า ไม่มีการค้นพบทองคำของทหารญี่ปุ่น ในพื้นที่ อ.ตันผิ่วซายัตฯ ที่มีการแพร่กระจายใน สังคมออน์ไลน์ แต่อย่างใด แต่ชาวบ้านลือเก่ง ขนาดรัฐบอกไม่จริงก็ยังไม่เชื่อ ลือกันขนาดว่า เห็นรถของรัฐเอาทองไปแล้วหลายคันรถ ก่อนหน้านี้มีฝรั่งแอบมาตรวจสอบตรงที่อ้างว่าเจอทองนั่นแหละ จึงเอาเครื่องมือไปตรวจสอบแล้ว เจอแต่ดาบซามูไร หักๆกับกระดูกหลายอย่าง

แฉภาพทองคำแท่งโกโบริ ที่ว่อนโซเชียลไม่ใช่เรื่องจริง



เดากันว่า มีคนใหม่สนใจจะขอซื้อใบอนุญาตต่อจากคนเก่า เพื่อจะได้เอาไปต่อใบอนุญาต แล้วก็จะได้ค้นหาทอง รายเก่าคงต้องการอัพราคา หรือรายใหม่ อาจจะมีคนจะมาซื้อต่ออีกทอดหนึ่ง หรือไม่ก็ทั้งสองคนนี้รวมหัวกัน เพื่อจะเพิ่มราคา จึงสร้างเรื่องขึ้นมาด้วยการนำภาพทองคำแท่งเป็นจำนวนมากมาโพสต์ลในเฟสบุ๊ก เพื่อหวังว่าจะได้ราคาดี จากคนที่สามที่จะมาซื้อใบอนุญาต