ปรากฏการที่เกิดขึ้น ถูกอธิบายจากกรมควบคุมมลพิษว่า มันคือ ปรากฏหารณ์ สภาพอากาศนิ่ง ชั้นอากาศผกผันใกล้พื้นดิน ทำให้มลพิษทางอากาศเกิดการสะสมตัวในปริมาณมาก ผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5 ใน กทม.เกินค่ามาตรฐานทุกพื้นที่ ฝุ่นละออง PM 10 ยังไม่เกินค่ามาตรฐาน แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศหลัก ได้แก่ การจราจร รองลงมาคือ อุตสาหกรรม และ การเผาในที่โล่ง
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ สุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ บอกว่า มลพิษทางอากาศ กรุงเทพฯ ปริมณฑล วันที่ 24 มกราคม 2561ผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานในทุกพื้นที่ (ค่ามาตรฐาน 50 มคก/ลบม.) ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ณ 12.00 ณ วันที่ 24 มกราคม 2561 อยู่ในช่วง 54 85 มคก./ลบ.ม. สูงสุดที่ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี สมุทรปราการ 59 71 มคก./ลบ.ม. และสมุทรสาคร 114 มคก./ลบ.ม. ปรากฏการณ์นี้จะพบเป็นบางวันในช่วงฤดูหนาว ถึงต้นฤดูร้อน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับ PM 2.5 สูงขึ้นผิดปกติในช่วงนี้
ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง อยู่ในเกณฑ์สีส้ม (เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) แนะนำสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ระบบทางหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด เลี่ยงกิจกรรมภายนอกอาคาร และขอความร่วมมือเจ้าของยานพาหนะดูแล รักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพดี ไม่ปล่อยควันดำ ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล หันไปใช้ระบบขนส่งมวลชนก็จะช่วยสถานการณ์และลดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ได้ และใส่หน้ากกอนามัย
ข้อมูลจากกรีนพีชประเทศไทย Greenpeace Thailand ระบุว่า แม้จะเล็กเกินว่าที่ตาเราสามารถมองเห็น แต่ฝุ่นพิษขนาดเล็กไม่เกิน2.5ไมครอน ( PM2.5) คือ ภัยที่กำลังคุกคามสุขภาพของคนไทย
โดยทั่วไปฝุ่นละอองมีอยู่ในธรรมชาติ เช่น เกสรดอกไม้ ละอองดินทราย และฝุ่นที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น อุตสาหกรรม การคมนาคม การเผาในที่โล่ง และโรงไฟฟ้าพลังงานฟอลซิล ฝุ่นละอองขนาดใหญ่จะถูกกรองโดยขนจมูก แต่ฝุ่นพิษขนาดเล็ก PM2.5 นั้น สามารถเล็ดลอดผ่านขนจมูก เข้าสู่กระแสเลือดและอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างง่ายดาย
PM2.5 คืออะไร ทำไมจึงสามารถก่อมะเร็ง
ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน คือ มลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ เล็กจนสามารถเล็ดลอดขนจมูกเข้าสู่ร่างกายได้ และมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดเม็ดเลือด (5 ไมครอน) ฝุ่นพิษจึงสามารถเข้าสู่เส้นเลือดฝอยและกระจายไปตามอวัยวะได้ ฝุ่นมีลักษณะที่ขรุขระคล้ายสำลี ฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งจำนวนมาก
ฝุ่นขนาดใหญ่จะตกลงสู่พื้นตามแรงดึงดูดของโลก แต่ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน10ไมครอน (PM10) และ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน2.5ไมครอน (PM2.5) จะสามารถลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นาน ปะปนกับมลพิษอื่นในอากาศ หากปะทะเข้าจมูกหรือปาก ฝุ่นละอองขนาดใหญ่กว่านี้บางส่วนถูกขับออกมาเป็นเสมหะ สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอด ผ่านเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังและมะเร็งหากสะสมอยู่ในอวัยวะใดนาน ๆ
จากการศึกษาโดย Institute for Health and Evaluation มหาวิทยาลัยวอชิงตัน พบว่ามลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เนื่องจากมีส่วนประกอบของสารเคมีหลายชนิด ทั้งที่เป็นสารระคายเคือง ไปจนถึงสารก่อมะเร็ง
จึงเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรค ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งปอด และ โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่าง ก่อให้เกิดการตายก่อนวัยอันควรในประเทศไทย ประมาณ 50,000 รายต่อปี
ฝุ่นควันพิษที่ปรากฏทำให้คนไทยสนใจกับค่า PM2.5 เพราะนี่ถือเป็นครั้งแรกที่เห็นสภาพอากาศเกิดผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ชัด ทั้งทั้งที่มันเกิดขึ้นมานาน ซึ่งเรื่องนี้กรีนพีซประเทศไทยได้รณรงค์มาตลอด เพื่อให้กรมควบคุมมลพิษ ใช้ค่าเฉลี่ย PM2.5 มาคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศ ตามโครงการณ์"ขออากาศดีดีคืนกลับมา" แต่น้อยคนที่อาจจะมองไม่เห็นผลกระทบชัดเจน แต่มาวันนี้ ..]สิ่งที่ปรากฎชัด มันคือหายนะมลพิษทางอากาศที่กำลังคุกคามต่อสุขภาพในระยะยาว...
กรีนพีชยังเชิญชวนให้คนไทยเห็นความสำคัญ และ ร่วมกันขออากาศดีดีคืนหลับมา
อากาศสะอาดคือสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ร่วมลงชื่อเรียกร้องให้กรมควบคุมมลพิษใช้ค่าเฉลี่ย PM2.5 ในการคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศ (PM 2.5 AQI) เพื่อยกระดับมาตรฐานการวัดคุณภาพอากาศในประเทศไทย ที่นี่ act.gp/2qNG5r1