1.มูลนิธิรามาธิบดีเพื่อสมทบทุนสร้างอาคารสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ 2.ศิริราชมูลนิธิเพื่อสมทบ ทุนสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 ปี 3.กลุ่มพหุชนคนอาสา(The CAP) เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้มีจิตสาธารณะที่จะช่วยสร้างสรรค์และบรรเทาทุกข์ให้กับสังคมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 4.มูลนิธิเดอะวอยซ์(เสียงจากเรา) เพื่อสนับสนุนการทำงานช่วยเหลือสิ่งมีชีวิตด้อยโอกาสและสัตว์ยากไร้
สำหรับในระยะที่ 2 กระทรวงสาธารณสุขได้ขอความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศ จำนวน1,040,000 คน ช่วยประชาสัมพันธ์และจัดเก็บมือถือเก่าที่ได้รับบริจาคจากครัวเรือน เพื่อรวบรวมส่งที่กล่องรับบริจาค ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และนำส่ง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ในพื้นที่ต่อไป ผ่านระบบแอปพลิเคชั่นไลน์สำหรับตรวจสอบ ติดตาม สนับสนุน การทำงานของ อสม. ได้ตลอดเวลา เพื่อให้ทันกำหนดการบริจาคเงินสนับสนุนการดำเนินงานทั้ง 30 โรงพยาบาลทั่วประเทศ และสมาคมผู้ป่วยโรคไต ภายในเดือกุมภาพันธ์ 2561
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถร่วมบริจาคมือถือเก่าได้จนถึง 28 กุมภาพันธ์ 2561 ที่จิตอาสาประจำโครงการทั่วประเทศ และที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือสถานีอนามัยทั่วประเทศ ศูนย์อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ประจำตำบลทั่วประเทศ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ และร้านเจมาร์ททุกสาขา โดยสามารถติดตามรายละเอียดและกิจกรรมต่างๆ ของโครงการฯได้ที่ Facebook : มือถือเก่าไป ชีวิตใหม่มา
อนึ่ง จากรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2559 ได้คาดการณ์ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้น จำนวน 55,646 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2558 จำนวน 1,778 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 3.3 จำแนกเป็นมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากโรงพยาบาลรัฐ ร้อยละ 56.79 โรงพยาบาลเอกชน ร้อยละ 17.05 คลินิก ร้อยละ 19.21 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร้อยละ 6.37 สถานพยาบาลสัตว์ ร้อยละ 0.58 และห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย ร้อยละ 0.01 ซึ่งมูลฝอยติดเชื้อเหล่านี้เกิดจากการให้บริการรักษาพยาบาล การตรวจวินิจฉัย การให้ภูมิคุ้มกันโรค และการศึกษาวิจัยที่ดำเนินการทั้งในมนุษย์และสัตว์ หากจัดการไม่ถูกต้องแล้วจะเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม