svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ธนาคารจะอยู่รอดได้ไหม? รอดได้อย่างไรในยุค Digital

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปบรรยายให้กับธนาคารกรุงไทย ในโครงการ KTB Digital Series ซึ่งมีผู้ฟังส่วนใหญ่เป็นผู้บริหาร และได้รับคำถามฝากมามากมายในแนว

"ธนาคารเราจะอยู่รอดไหม? และจะรอดด้วยวิธีใด?"
เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เขียน เขียนบทความนี้
จากผลการวิเคราะห์และการคาดการณ์จากนักอนาคตศาสตร์และสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงหลายแห่งพบว่า รูปแบบของธนาคารภายใน 10 ปีข้างหน้านี้ จะไม่มีเค้าโครงเดิมของรูปแบบธนาคารในวันนี้เลย!!!
เพราะการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมในอุตสาหกรรม Industrial 4.0 ทำให้ธนาคารจำเป็นต้องกำหนดรูปแบบใหม่ เนื่องจากพลังอำนาจของผู้บริโภคที่สูงขึ้น ดังนั้น เพื่อความอยู่รอด ธนาคารจะต้องมีความคล่องตัวและตอบสนองอย่างรวดเร็วและต้องปรับกลยุทธ์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
การพลิกโฉมด้วยดิจิทัลกำลังเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการเงิน ทั้งคู่แข่งใหม่ ช่องทางใหม่ๆ และ กระบวนการใหม่ พร้อมกับความคาดหวังใหม่ๆ ของลูกค้าที่กำลังเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของอุตสาหกรรมการธนาคาร โดยในการตอบสนองนั้น คณะกรรมการบอร์ดและผู้บริหารธนาคารจะต้องสร้างความสมดุลในการเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว ในขณะเดียวกันก็ต้องตระหนักด้วยว่า การเปลี่ยนผ่านบางอย่างก็ต้องใช้เวลาเช่นกัน
ในรายงานเรื่อง "Digital Strategy Execution Drives a New Era of Banking" อ้างอิงจากงานวิจัยของ Larry Downes และ Paul Nunes เรื่อง Big Bang Disruption, Strategy in the Age of Devastating Innovation ของ Accenture (Reference ด้านล่างบทความ) ระบุว่าวงจรนวัตกรรมดิจิทัลแบบรวดเร็วดังกล่าว มีศักยภาพที่จะช่วยเพิ่มอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (return on equity, ROE) ได้มากกว่า 5% สำหรับทั้งธนาคารเก่าแก่และธนาคารผู้เล่นหน้าใหม่
นอกเหนือจากเรื่องการทำกำไรแล้ว วัฏจักรนวัตกรรมนี้ทำให้วงจรของผลิตภัณฑ์สั้นลงและถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่เร็วขึ้น สายการผลิตทั้งหมดกำลังถูกสร้างขึ้นหรือถูกทำลายในเวลาข้ามคืนโดยเทคโนโลยีที่พลิกโฉมเหล่านี้ การพลิกโฉมจากดิจิทัลจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมบริการทางการเงินทั้งหมด
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของธนาคารในทศวรรษนี้นั้น แตกต่างจากการพลิกโฉมที่ผ่านๆมา โดยมีการลงทุนและให้บริการที่ถูกลงเพื่อย้ายส่วนแบ่งการตลาด การพลิกโฉมทุกวันนี้มีความคิดสร้างสรรค์และบูรณาการที่ดีขึ้นกับผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ นอกจากนี้ผู้เล่นหน้าใหม่จำนวนมากได้ใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงความสามารถในการมีส่วนร่วมและแบ่งปันข้อมูลเหล่านี้ นำมาตอบสนองต่อการพลิกโฉมด้วยดิจิทัลที่ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปแล้วอย่างมาก
จากการที่มีความกดดันเพิ่มขึ้น ในผลการศึกษาดังกล่าวพบว่า ธนาคารจำเป็นที่จะต้องจัดการด้วย 2 มิติ ควบคู่กัน เพื่อคงขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดไว้ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังต้องเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธนาคารในระยะยาวด้วย
มิติที่ 1-- การเติบโตที่พลิกโฉมที่ไม่เกี่ยวกับขีดความสามารถหลักของธุรกิจ (Disruptive growth options outside the core) : การเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่พลิกโฉมหมายความว่าเป็นการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วของผู้เล่นหน้าใหม่ จากองค์กรต่างๆ เช่น PayPal, Amazon, Apple ที่กำลังสร้างบริการทางการเงินที่ใช้งานได้ดีกว่าขอบเขตบริการของธนาคารแบบดั้งเดิม และกำลังดำเนินการเติบโตอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด
การพลิกโฉมทางการเงินครั้งล่าสุดส่วนใหญ่มีการแก้ปัญหาในแบบบูรณาการ โดยมีการพัฒนาและใช้งานผ่านโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์ จากการแข่งขันที่มีการสนับสนุนเงินทุนอย่างดีและคล่องตัวทำให้สินทรัพย์ขององค์กรสำหรับการดำเนินงานแบบดั้งเดิม (ระบบ, เครือข่ายการกระจายสินค้า) ก็ได้กลายเป็นภาระหนี้สินในทันทีอุตสาหกรรมธนาคารสามารถพลิกโฉมตัวเองได้และสร้างทางเลือกใหม่ ๆ ที่อาจเกี่ยวกับการเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน โดยจะต้องเปลี่ยนเป็นวัฒนธรรมในเชิงผู้ประกอบการ ในขณะที่ต้องยอมรับความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างของ "การเติบโตที่พลิกโฉม" อาจรวมถึง :- การมีลักษณะเป็นองค์กรที่พลิกโฉมด้วยดิจิทัลโดยกำหนดตลาดและสินค้าเป้าหมายที่ต่างไปจากเดิม- สร้างกระเป๋าเงินดิจิทัลที่มีการทำธุรกรรมในแอพพลิเคชั่นเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการบริการ- จัดหาโซลูชั่นทางการเงินและที่ไม่ใช่ทางการเงินในรูปแบบครบวงจรเพื่อตอบสนองความต้องการด้านอื่นๆ นอกเหนือจากธนาคาร- ใช้ประโยชน์จากระดมทุนและความสามารถในการชำระเงินของลูกค้า- สร้างรายได้จากการวิเคราะห์เชิงลึก (Big data analytics)มิติที่ 2-- การเปลี่ยนแปลงที่ขีดความสามารถหลัก (Transformation of the core) : ในขณะที่หาทางดำเนินการเติบโตแบบพลิกโฉมกับส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ขีดความสามารถหลักแล้วนั้น องค์กรด้านการธนาคารดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องก้าวไปอีกขั้นด้วยการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบหลักสามส่วนต่อไปนี้- กลยุทธ์ลูกค้าดิจิทัล ต้องให้ประสบการณ์แบบทุกช่องทาง omnichannel กับลูกค้า (Marketing 4.0) ในรูปแบบ Human centric ที่ผสมผสานทั่งกายภาพและดิจิทัลอย่างกลมกลืน โดยที่ลูกค้าสามารถเลือกวิธีการมีส่วนร่วมกับธนาคารได้ตลอดเวลาบนอุปกรณ์ใดก็ได้- กลยุทธ์องค์กรแบบดิจิทัล สถาบันจะต้องมีวิวัฒนาการเพื่อให้กลายเป็นองค์กรด้านการธนาคารดิจิตอลที่ครอบคลุม โดยรวมถึงกระบวนการและขั้นตอนที่เป็นดิจิทัล กระบวนการทำงานร่วมกันแบบดิจิตอลและวัฒนธรรมดิจิทัลด้วย- กลยุทธ์การดำเนินงานแบบดิจิทัล ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ซึ่งรวมถึงโครงสร้างแบบเปิดซึ่งจะช่วยให้องค์กรธนาคารสามารถทำงานร่วมกับบุคคลภายนอก ซึ่งอาจมีโครงสร้างที่แตกต่างกันได้
การเปลี่ยนแปลงของขีดความสามารถหลัก (core) จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงและการปรับเปลี่ยนทรัพยากรบุคคลและเทคโนโลยีและจะส่งผลให้เกิดรูปแบบการดำเนินงานใหม่และระบบนิเวศดิจิทัลใหม่ ๆ
วงจรการพลิกโฉมด้วยดิจิทัลอาจมีผลกระทบอย่างมาก แต่วงจรนี้ก็สั้นลงอย่างเห็นได้ชัด เป็นผลให้ธนาคารจะต้องพร้อมกับ 'สิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า' ก่อนที่คนอื่นจะเข้าสู่ตลาดและแย่งส่วนแบ่งตลาดไปอย่างถอนรากถอนโคน
การเป็นองค์กรธนาคารดิจิทัลนั้นไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่มันคือสิ่งที่ "ต้องทำ" เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในพฤติกรรมดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น ด้วยการที่ธนาคารต้องมีการนำเสนอบริการดิจิทัลที่เพิ่มมูลค่าให้กับบริการด้วยการใช้งานที่เรียบง่าย โดยการตอบสนองต่อการพลิกโฉมด้วยดิจิทัล เพื่อช่วยให้องค์กรของธนาคารแบบดั้งเดิมสามารถตอบสนองต่อการโจมตีโดยผู้เล่น fintech หน้าใหม่ได้ ในขณะเดียวกันก็เปลี่ยนแปลงธุรกิจหลักไปสู่อนาคตที่สดใสด้วย
ดังนั้น เราจะสามารถรู้ได้ว่าธนาคารใดสามารถที่จะอยู่รอดได้ต่อไปท่ามกลางห่ากระสุนดิจิทัล ก็เพียงดูได้จากหน้าตาของคณะกรรมการบอร์ดและผู้บริหารว่า พวกเขาเป็นผู้บริหารเพื่อองค์กรในอนาคต หรือเป็นผู้ที่จมปลักกับความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในอดีต???
Digital transformation... Do or Die ??? เลือกเอาครับ


Reference:https://thefinancialbrand.com/53414/digital-banking-disruption-transformation-response/
https://www.accenture.com/us-en/insight-digital-strategy-new-era-banking
Marketing 4.0: Moving from Traditional to Digital: http://as.wiley.com/WileyCDA/WileyTitle/productCd-1119341205.html

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)www.เศรษฐพงค์.com